28.11.53

แจ้งเรื่อง เวปไซส์ และที่อยู่ใหม่คัพ

ขณนี้ proudgroove ได้ปิดปรับปรุงเวปไซส์ เพื่อเวปที่ดีกว่าเดิม รวมไปถึงการย้ายที่อยู่ เป็นที่ ถนนโชคชัย4 ซอย 36 และจะเป็น proudgroove สตูดิโอ ในอนาคต ระหว่างนี้ต้องการสอบถามข้อมูล ติดต่อได้ที่ 02-936-7265 คัพ ขอบคุณกำลังใจจากเพื่อนๆทุกๆคนคัพ

2.5.53

อัพเดตคัพ

หวัดดีเพื่อนๆ ทุกคนๆครับ หลังจากที่ผมติดภาระกิจอันยิ่งใหญ่ ตอนนี้ก็ได้เวลาสานต่อฝันที่เป็นจริงแล้ว (เว่อร์เนอะ... - -'')
กับตอนนี้เว็ป proudgroove สามารถใช้งานได้บางส่วนแล้ว ซึ่งจะมีอะไรใหม่ๆเพิ่มเติมในแบบที่หลายๆคนอาจจะต้อง งง กันบ้าง ล้อเล่นครับ ก็สามารถติดตามข่าวสาร ได้ที่ www.proudgroove.com และข่าวดีอีก 1 ข่าว อีกราวๆ 2 เดือน proudgroove studio ความคืยหน้าติดตามได้ในเว็ปเลยนะครับ

ขอบคุณทุกๆคนที่ติดตามนะคัพ

9.11.52

ขออภัยที่หายไปนาน

ต้องขออภัยด้วยนะคัพ ที่ไม่ได้เข้ามาอัพเดตเว็ป เนื่องจากติดภาระกิจอันยิ่งใหญ่อยู่ ขณะนี้เว็ปไซส์เองก็เสร็จไป 60% แล้ว อดใจรออีกนิดนะคัพ

15.10.52

BREAKBEAT,BIG BEAT,TRIP HOP,CHILL-OUT

BREAKBEAT
อีกแนวดนตรีที่กลับไปหาความสนุกของดนตรีเต้นรำในอดีต โดยหยิบเอาช่วงเบรคมาตีวนเข้าจังหวะ และไม่ใช้วิทยาการซับซ้อนแบบจังเกิ้ลเสริมเข้าไปด้วยอิทธิพลของเทคโนเบลเยี่ยมในต้นยุค 90
Classic Breakbeat : Adam Freeland, Beber & Tamara, Layo & Bushwacka, Mr C, Freq Nasty, Tsunami One

BIG BEAT
เสียงออกมาสมชื่อเพราะเป็นบีทที่โครมครามแรงจัดจ้านโฉ่งฉ่างผสมพลังของร็อค และจังหวะโยกมัน ๆ จากฟั้งค์ถึงเฮ้าส์ โดยไปแซมเพิ่ลอะไรต่อมิอะไรมาใส่เต็มไปหมด ซึ่งเหมือนเฮ้าส์ในยุคแรก ๆ
ดนตรีแนวนี้สร้างให้คนมวลรวมออกมาเต้น ปฏิเสธดนตรีเต้นรำประเภทศิลปะคิดมากโดยสิ้นเชิง
Classic Big Beat : Bentley Rhythm Ace, The Chemical Brothers, Fatboy Slim, The Wiseguys, Lo-Wiseguys, Lo-fidelity Allstars
TRIP HOP
หรือฮิพฮ็อพช้า ๆ ที่มีการเต้นแร็พน้อยมาก เติมแซมเพิ่ลจากหนังนักสืบ/สงครามเย็น บวกอิทธิพลของเร็กเก้ โซล และ แจ๊ซซ์ ดนตรีที่เหมาะกับการพี้ยานี้ เริ่มก่อตัวในต้นยุค 90 จากเมืองบริสทอล ตอนใต้ทางอังกฤษจับกลุ่มที่หลงใหลในบีท แต่ถนัดการโยกหัวมากกว่าเต้นทั้งตัว จึงถูกขนานนามว่า Blunted เพราะเหมาะกับการถุนกัญชาขณะฟังเป็นอย่างมาก ดนตรีทริบฮ็อพขยายผู้ฟังในวงกว้าง เพราะเป็นเพลงที่ฟังสบายแม้ว่าเนื้อหาในงานเยี่ยม ๆ ของ Tricky จะบีบคั้นมากนักก็ตาม
ที่สำคัญทริบฮ็อพเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของชิลล์เอ๊าท์
Classic Trip Hop : Tricky, DJ Shadow, Potishead, Massive Attack, Howie B, DJ Food, Morcheeba
CHILL-OUT
แรกเริ่มเดิมทีใช้เรียกดนตรีที่เอาไว้ผ่อนคลายหลังการใช้****ในคลับ รวมไปถึงเพลงอุ่นเครื่องในบาร์ที่เกาะอิบิซ่า ที่มักเปิดเวลานักเที่ยวแห่ไปดูพระอาทิตย์ตก ต่อมาใช้กับเหตุการณ์แห่กลับไปบ้านเพื่อนหลังจากการเต้นสุดเหวี่ยง พอถึงบ้านก็จะเข้าไปค้นกองแผ่นเสียง และหาเพลงที่เข้าบรรยากาศช่วงก่อนเช้า
ชิลล์เอ๊าท์ หมายถึง ความรู้สึกผ่านดนตรีมากกว่าลักษณะทางดนตรี เพราฉะนั้นศิลปินจึงหลากหลายตั้งแต่งานเก่า ๆ ยุค 60-70 เรื่อยไปจนถึงศิลปินที่ทำแต่ชิลล์เอ๊าท์จริง ๆ ในยุคนี้อัลบั้มรวมเพลงชิลล์เอ๊าท์ กลายเป็นตัวทำเงินให้กับค่ายเทปเป็นอย่างมาก โดยใช้หลักการว่าเราควรจะพักผ่อนหลังจากทำงานเครียอดจึงเปิดตลาดเพลงเต้นรำ (ที่ไม่เต้นเลย) ให้กับคนในวงกว้าง
ภาพลักษณ์ที่ออกมาเป็นพวกหนุ่มสาวในชุดดีไซเนอร์ นั่งอยู่บนเฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่ดีไซน์ล้ำยุคจากสแกนดิเนเวีย พุ่งตรงจากแคททาล็อคหรือไม่ก็บรรยากาศอบอวลรัญจวนใจบนกราฟฟิคสะอาด ๆ เนี้ยบ ๆ สีจัด ๆ
เพลงเหล่านี้มักถูกเปิดตามร้านของตกแต่งบ้าน
Classic Chill-Out : Goldfrapp, Air, Zero 7, Bent, Lemon Jelly, Jose Padilla, Mandalay, Blue States, Kinobe และอาจจะรวมไปถึงงานโฟล์คซองของ John Denver ของคุณน้าที่บ้านด้วยก็ได้

8.10.52

JUNGLE,DRUM ‘N’ BASS

JUNGLE
ดนตรีเมดอินลอนดอนแท้ ๆ เกิดจากการแตกแขนงของดนตรีแฮปปี้ฮาร์ดคอร์ ที่การใช้ยากลายเป็นเรื่องรุนแรง และก้าวเข้าสู่ด้านมืด นักดนตรีเริ่มนำ เบรคบีทมาตีวน (เบรคบีทคือช่วงของเครื่องดนตรีเคาะที่มีในดนตรีฟั้งค์/ดิสโก้ ซึ่งถูกใช้อย่างหนักกับดนตรีฮิพฮ็อพ) แต่พวกเขาไม่เอาเบรบีทมาใช้ง่าย ๆ เบรคบีทเหล่านั้นถูกเอาเข้าเครื่องสับเป็นชิ้น ๆ แล้วเรียงใหม่ โดยปฏิเสธทำนองและความกลมกลืน ใช้จังหวะเป็นทำนองแทน
จากนั้นก็ถูกบรรดา MC บ่นพร่ำพรูเสียงตามสไตล์เร็กเก้ดิบ ๆ (ที่เรียกว่าเร็กก้า) ลงไป จังหวะของมันเร็วประมาณ 50-160 บีทต่อนาทีและทำให้คนดำหันมาสนใจซาวน์ดนี้ แทนที่จะชอบแต่ฮิพฮ็อพ จังเกิ้ลจึงเป็นวัฒนธรรมดนตรีเดียวที่ไม่บ่งบอกผิวสี เพราะผิวดำกับขาวรวมตัวกันกลมกลืน แบบคำว่า Jungle Fever (การแต่งงานของคนต่างสีผิว)
ดนตรีจังเกิ้ลจะดิบกร้าน แรง และอยู่ใต้ดิน
Classic Jungle : Original Unknown, DJ Hype, Hyper-On-Experience, Renegade, Shy FX, 2 Bad Mice
DRUM ‘N’ BASS
จังเกิ้ลกับดรัมแอนด์เบสส์ไม่เหมือนกัน ดรัมแอนด์เบสส์จะเป็นซาวน์ดของจังเกิ้ลที่ถูกขัดสีฉวีวรรณ ขนัดความดิบกร้านให้มาอยู่บนดินมากขึ้น มีการเติมเสียงเครื่องสายลงไป เพื่อสร้างทำนอง แทนที่จะใช้เบรคบีทอย่างเดียว ผลลัพธ์จะเป็นซาวน์ดที่ได้อารมณ์ไหลลื่น เหมือนลอยไปนอกโลก ความรู้สึกของการ ‘มีชีวิต’ มากขึ้น ปราศจากการบ่นคำหยาบของ MC เนื้อเพลงมองโลกในแง่ดี จนกระทั่งถึงขนาดเติมเครื่องเป่าลงไป จนเกือบเหมือนดนตรีแจ๊ซซ์ฟั้งค์ในยุค 70 ซึ่งขยายคนฟังขึ้นมาก
จนบางครั้งถูกตราหน้าว่าเป็นอินเทลลิเจนท์ดรัมแอนด์เบสส์ม แจ๊ซซ์สเต็พ หรือแอมเบี้ยนท์จังเกิ้ล
Classic Drum ‘n Bass : LTJ Bukem, E-Z Rollers, Goldie, 4 Hero, Omni Trio, Boymerang, A Guy Called Geraid, Jacob’s Optical Staairway, Photek, Alex Reece
ดนตรีแนวจังเกิ้ลยังมีสาขาปลีกย่อยอีกมากมาย อย่าง Techstep ที่มีการเติมจังหวะ และสไตล์กลองแบบเทคโนเข้าไป ไม่ใช่เทคโนจากดีทรอยซ์ หากเป็นเทคโนของเบลเยี่ยมอย่าง T-99 มากกว่า ขยายมาจนถึง Jump-up ที่เสียงบีทจะกระตุกจนคุณแทบอยากกระโดด Two-Step ได้ชื่อมาเพราะจังหวะคิกกลองลงที่ 2 กับ 4 (เลขคู่) ส่วน Darkcore คือการกลายพันธุ์ตรงมาจากเทคโน และรับอิทธิพลของยาเสพติดสร้างบรรยากาศที่หนักแน่น ปั่นป่วนและลึกลับขึ้น (งานของ ED Rush) และ Jazz Jungle ที่มีการใช้เครื่องดนตรีแจ๊ซซ์จริง ๆ มาทำเพลง เด่นมาก ๆ กับงานของ Roni Size/Reprazent, Peshay และศิลปินแจ๊ซซ์อย่าง Courtney Pine

TRANCE

TRANCE
แนวดนตรีเต้นรำที่ประสบความสำเร็จในวงกว้างที่สุด เสียงจะลอยล่องชวนฝัน เหมือนจะดึงคนฟังกับนักเต้นให้อยู่ในภวังค์ตามชื่อ จังหวะจะตีวนไปวนมา และค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นเรื่อย ๆ พอถึงจุดสุดยอด ก็จะอัดลงมากระแทกกระทั้น ซึ่งสมบูรณ์แบบมากสำหรับการเต้นรำ เพราะพอถึงจุดไคลแมกซ์นักเต้นจะกระโดดขึ้น และชูมือเหนือหัวพร้อม ๆ กัน
เริ่มต้นมาจากในเยอรมัน ช่วงต้นยุค 90 ผ่านเสียงแรง ๆ จากเบลเยี่ยม จนมาเกิดใหม่ในอังกฤษช่วงปลายทศวรรษ เมื่อมีการเติมจังหวะเบรคบีทเข้าไป (จนเรยกกลาง ๆ ว่า โพรเกราซีฟแทรนซ์) และแต่งให้พ็อพขึ้น
แทรนซ์เป็นดนตรีที่เล่นกันตามคลับในอังกฤษมากที่สุด
Classic Trance : Joey Beltram, CJ Bolland, Jam & Spoon, Paul Oakenfold, Danny Rampling, Sasha & Digweed, Judge Jules, Paul Van Dyk, Seb Fontaine, Tony De Vit
GOA TRANCE
ได้ชื่อมาจากแคว้นหนึ่งตามชายฝั่งทางใต้ของอินเดีย ซึ่งเป็นสวรรค์เสพยาของบรรดาผู้แสวงหามาหลายปี ดนตรีเป็นแทรนซ์แต่ว่ายาที่ใช้หลอนประสาทกว่า (แอลเอสดี) ยิ่งได้ผสมผสานกัลกลิ่นกำยานและวัฒนธรรมของอินเดียอย่างส่าหรี/ชิทาร์เข้าไปอีก ความมึนเมาก็ทวีคูณขึ้นเป็นสิบเท่า
ดนตรีแนวนี้แทบไม่ปรากฎในวิทยุ แต่ดังในคลับ กระนั้นก็ถูกมองว่าเป็นดนตรีของฮิพพี่ย์ยุคดิจิทอลแทน
Classic Gea : Eat Static, Man With No Name, Dragonfly (ตราแผ่นเสียง), Return To The Source
IDM
ย่อมาจาก Intelligent Dance Music พัฒนามาจากอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะตราแผ่นเสียงอย่างวาร์พ ที่ทำดนตรีเทคโนที่เหมาะกับการนั่งฟังพินิจพิจารณา มากกว่าออกไปเต้น เพราะไม่มีจังหวะช่วงเร่งเร้าอารมณ์นัก ตัวดนตรีจะซับซ้อนและเต็มไปด้วยรายละเอียดมากกว่าจนเป็นที่ฌปรดปรานของนักวิจารณ์
ในยุคแรก ๆ เพลงเหล่านี้บรรจุไว้ในห้องซิลล์เอ๊าท์ สำหรับลดดีกรีของ**** ดนตรีจะพัฒนาและมีการลองผิดลองถูกอยู่ตลอดเวลา แม้แต่ในปัจจุบันที่ยังคงมีรูปแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างแนวลิทช์ หรือคลิคส์แอนด์คัทส์ที่เกิดขึ้นจากการใช้คอมพิวเตอร์สมัยใหม่เข้าช่วยสร้างเสียงของการตัดแปะที่ปราศจากรูปแบบที่เป็นแบบแผนอย่างมีระเบียบ
งานเหล่านี้ได้รับความนิยมในเยอรมัน อังกฤษ และซานฟรานซิสโก ซึ่งจะมีผลงานออกมาอยู่ทุกสัปดาห์ ทั้งในรูปของซิงเกิ้ล 7 นิ้ว และอัลบั้มเต็ม ๆ
Classic IDM : Pole, Kid606. V/VM, Boards Of Canada, Autechre, Aphex Twin, Black Dog และตราแผ่นเสียงอย่าง Skam, Violent Turd, Mille Plateaux, Force Inc, Rephlex และ Fat Cat
สาขาปลีกย่อยของเทคโนยังมีกลุ่ม Stadium Techno ที่สามารถเล่นสดได้ และนิยมทำผลงานเป็นอัลบั้ม อย่าง Future Sound Of London, The Prodigy, Orbital และ Underworld ซึ่งบางทีถูกเรียกรวม ๆ ว่า Electronics

26.9.52

TECHNO GENRES

TECHNO
ในขณะที่เฮ้าส์เป็นดนตรีที่ลื่นไหลเนี้ยบสวยงาม ดนตรีเทคโนจะรุนแรงและดุดันกว่า เทคโนถูกออกแบบมาให้กลุ่มเล็ก ๆ โดยเฉพาะ
นี่คือดนตรีอีเลคโทรนิคอย่างแท้จริง ซาวน์ดจะออกเป็นเครื่องจักร ดิบแระกระด้างมากกว่า
เสียงประกอบยังขโมยมาจากเสียงจักรกลรอบตัว ตั้งแต่เสียงไซเรนจนถึงคำพูดจากในภาพยนตร์ ความเร็วของบีทจะเร็วกว่าเฮ้าส์ปกติที่ 126-130 ซึ่งเวลาแตกแขนงแนวออกไป จะมีบีทที่เริ่มจากศูนย์จนไปถึง 140 ของแทรนซ์ และ 220 หรือมากกว่าในดนตรีฮาร์ดคอร์ เทคโนเริ่มจากการเป็นดนตรีใต้ดิน แต่ไปเกิดในอังกฤษ และขยายวงกว้าง
Classic Techno : Aphex Twin, Dave Clarke, Darren Price, Silent Phase, Kenny Larkin, Plastikman, B-12
DETROIT TECHNO
ต้นแบบของเทคโนมาจากเมืองดีทรอยซ์ เมืองแห่งอุตสาหกรรมทางตอนเหนืออันหนาวเหน็บไร้ชีวิตชีวาของอเมริกา ดีทรอยท์ให้กำเนิดดนตรีพี-ฟั้งค์ และเป็นบ้านของค่ายโมทาวน์มาก่อน
เทคโนเกิดจากการเอาส่วนย่อยของฟั้งค์ มารวมกับดนตรีสังเคราะห์จากยุโรป (บรรดาวงอย่าง Kraftwerk, Depeche Mode, Cabaret Volaire) โดยเน้นที่การสร้างจังหวะท่ ‘ไม่มีชีวิต’
แต่ให้ความรู้สึกที่หยาบและรุนแรง สมชื่อ
Classic Detroit Techno : Juan Atkins, Derrick May, Kevin Saunderson, Rhythm Is Rhythm, Model 500, Drexciya, Jeff mills, Stacey Pullen
HAPPY HARDCORE
เทคโนที่แรงขึ้นไปอีก ฟังดูวุ่นวายพลุกพล่าน อึกทึก โวยวาย เหมือนเป็นการเต้นรำของคนบ้าภายใต้บีทที่เร็วถึง 180-190 ต่อนาที เสียงซินธ์กับเพียโนจะเร็ว เสียงร้องก็ถูกปรับจนเร็วเหมือนตัวซิพมังค์ เหมาะกับเด็กวัยรุ่นเมายาจนไม่รู้สึกตัว เนื้อหาจะวนเวียนกับเรื่องของยา เซ็กซ์ ความสุข เจียนบ้า
ดังมากในสก็อทแลนด์ และถูกมองว่าไม่มีคุณค่าทางดนตรี
Classic Happy Hardcore : Hixxy & Sharkey, Slipmatt, Force & Styles, DJ Eruption
GABBA
แรงขึ้นไปกว่าแฮ็ปปี้ฮาร์ดคอร์ จนเกือบจะเข้าสู่โลกของดาร์คคอร์ ซึ่งจะขยายตัวเป็นจังเกิ้ลต่อมา ดนตรีแก็บบา (มาจากภาษาดัชท์แปลว่าเพื่อน) จังหวะจะเร่งแรงขึ้นเป็น 200-400 บีทต่อนาที เกิดมาจากงานเรฟในร็อทเทอร์ดัมที่เนเธอร์แลนด์ และข้ามมาถล่มที่สก็อทแลนด์ด้วย
เนื้อร้องจะว่าด้วยความรุนแรงมากขึ้นแต่หนึไม่พ้นยา เซ็กซ์ และสงคราม
Classic Gabba : Technohead, PCP, GTO, Ultraviloence, The Horrorists, Rotterdam Terror Corps

TECH-HOUSE,JAZZ HOUSE

TECH-HOUSE
ดนตรีเฮ้าส์ที่นิยมซาวน์ดง่าย ๆ กระด้าง ๆ ของเทคโนยุคแรก ๆ หรือไม่ก็เทคโนดิบจากเบลเยี่ยมมาใส่ในตัวเพลง
Classic Tech-House : Moodyman, Funk D’Void, Daniel Ibbotson, Herbert, John Acquaviva, Dan Curtin
JAZZ HOUSE
แนวดนตรีเฮ้าส์ในยุคหลัง ที่ใช้อารมณ์ของแจ๊ซซ์ในการสร้างบรรยากาศถูกมองว่าเป็นหนึ่งในซาวน์ของดนตรีชิลล์เอ๊าท์โดยไม่ได้ตั้งใจ
มักจะได้รับความนิยมในหมู่นักตกแต่งบ้าน ที่นิยมผลงานออกแบบสุดโมเดิร์นของดีไซเนอร์จากสแกนดิเนเวีย
ตราแผ่นเสียงคอมโพสท์มาจากเยอรมันนำทีมดนตรีแนวนี้ ช่วงแรกเรียก Nu Brit House เพราะเริ่มมาจากอังกฤษ
Classic Jazz House : Jazzanove, Swayzak, Natural Calamity, Faze Action, Sensory Elements, Satoshi Tomiie, Idjut Boys, Fila Brazillia

17.9.52

ACID HOUSE,FRENCH HOUSE,SPEED GARAGEUK GARAGE,AMBIENT HOUSE,

ACID HOUSE
เฮ้าส์กลายพันธุ์สายพันธุ์แรก เกิดจากการใส่เสียงเบสส์ อันเป็นเอกลักษณ์ผ่านโรแลนด์ทีบี 303 เข้าไปเกิดอาการหลอนบวกกับการมาถึงของยาเอ็กสทาซี่ย์ (****) จึงเติมคำว่า ‘แอซิด’ แบบเดียวกับที่มีแอซิดร็อคในช่วงฮิพพี่ย์ยุค 60
ซาวน์ดสังเคราะห์จะกระแทกกระทั้นไม่เน้นเนื้อร้อง ถ้ามีก็จะวนไปวนมาพูดถึงความบ้าบอของการเต้นรำ การอยู่ด้วยกัน และการใช้ชีวิตในเวลานี้ให้ดีที่สุด
ซึ่งตรงใจคนอังกฤษ เพราะมองว่าดนตรีนี้คือการนำมาซึ่งความรัก (****ทำให้นักเต้นรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน)
Classic Acid House : The Garden Of Eden, Phuture, Adonis, Fingers Inc, Lochi
FRENCH HOUSE
มาจากฝรั่งเศสตามชื่อ เหมือนเป็นการเดินย้อนศรไปจุดเริ่มต้นของดนตรีเต้นรำหยิบความเป็นเฮ้าส์ยุคดั้งเดิม มาบวกกับดนตรีเทคโนและดิสโก้ ซาวน์ดจะออกมาย้อนยุค เชย และให้ความรู้สึกบริสุทธิ์แบบเด็ก ๆ
Classic French House : Daft Punk, Motorbass, I:Cube
SPEED GARAGE
ลูกผสมของจังหวะเฮ้าส์กับการเดินเบสส์ต่ำ ๆ ของการาจ แต่เป็นสไตล์อังกฤษ ก็เลยมีพื้นมาจากดนตรีเร็กเก้ในอดีตด้วย ดนตรีจะเร็วตามชื่อเสียงที่เปี่ยมอารมณ์ของนักร้องถูกผ่าตัดให้เป็นเสียงหุ่นยนต์ที่กระด้างขึ้น
Classic Speed Garage : Rosie Gaines, Tina Moore, Double 99, Tuff Jam
UK GARAGE
หรือคนวงในเรียก UKG กระแสดนตรีล่าสุดของอังกฤษ ที่ผนวกความหวานหยดย้อยของดนตรีการาจ เติมเสียงร้องอันทรงพลังของดนตรีโซล และการบ่นโชว์ลีลาของ MC ที่ถูกนำมากรองผ่านกระแสไฟฟ้าจนถูกโยกย้ายสลับที่ตีลังกาได้ตลอดเวลา ในขณะที่ดนตรียังคงไว้ที่ท่วงทำนองที่ติดหู เนี้ยบ คมกริบ
จึงเป็นเหมือนดนตรีใต้ดิน ที่เอาความพ็อพบนดินที่สุดมาหยอดใส่อย่างลงตัว
Classic UKG : MJ Cole, Craig David, Mis-Teeq, Sweet Female Attitude, Todd Edwards, Zed Bias, The Dreem Teem
AMBIENT HOUSE
ดนตรีเต้นรำที่เอาไว้ใช้ละลายสลายฤทธิ์ของ****ที่นักเต้นใช้ คลับบางแห่งใช้ในการอุ่นเครื่อง บางที่ใช้ไว้ประดับห้องชิลล์เอ๊าท์ เพราะฤทธิ์ยาเวลาค่อย ๆ เสื่อมจะกินเวลานาน (ช่วง come down) เพลงแนวนี้จะเติมความลอยล่องของแอมเบี้ยนท์ไว้บนจังหวะเฮ้าส์พื้น ๆ แทรกเสียงร้องที่ไปแซมเพิ่ลงานบ้านมาเป็นระยะ ๆ เนื้อเพลงมักพูดถึงโลกเหนือจริง ท้องฟ้า ธรรมชาติที่งดงาม พิภพต่างดาว ตลอดจนถึงความเชื่อในยูเอฟโอ
Classic Ambient House : 808 State, The KLF, The Orb, The Beloved, Ultramarine, Biophere, System 7