26.9.52

TECHNO GENRES

TECHNO
ในขณะที่เฮ้าส์เป็นดนตรีที่ลื่นไหลเนี้ยบสวยงาม ดนตรีเทคโนจะรุนแรงและดุดันกว่า เทคโนถูกออกแบบมาให้กลุ่มเล็ก ๆ โดยเฉพาะ
นี่คือดนตรีอีเลคโทรนิคอย่างแท้จริง ซาวน์ดจะออกเป็นเครื่องจักร ดิบแระกระด้างมากกว่า
เสียงประกอบยังขโมยมาจากเสียงจักรกลรอบตัว ตั้งแต่เสียงไซเรนจนถึงคำพูดจากในภาพยนตร์ ความเร็วของบีทจะเร็วกว่าเฮ้าส์ปกติที่ 126-130 ซึ่งเวลาแตกแขนงแนวออกไป จะมีบีทที่เริ่มจากศูนย์จนไปถึง 140 ของแทรนซ์ และ 220 หรือมากกว่าในดนตรีฮาร์ดคอร์ เทคโนเริ่มจากการเป็นดนตรีใต้ดิน แต่ไปเกิดในอังกฤษ และขยายวงกว้าง
Classic Techno : Aphex Twin, Dave Clarke, Darren Price, Silent Phase, Kenny Larkin, Plastikman, B-12
DETROIT TECHNO
ต้นแบบของเทคโนมาจากเมืองดีทรอยซ์ เมืองแห่งอุตสาหกรรมทางตอนเหนืออันหนาวเหน็บไร้ชีวิตชีวาของอเมริกา ดีทรอยท์ให้กำเนิดดนตรีพี-ฟั้งค์ และเป็นบ้านของค่ายโมทาวน์มาก่อน
เทคโนเกิดจากการเอาส่วนย่อยของฟั้งค์ มารวมกับดนตรีสังเคราะห์จากยุโรป (บรรดาวงอย่าง Kraftwerk, Depeche Mode, Cabaret Volaire) โดยเน้นที่การสร้างจังหวะท่ ‘ไม่มีชีวิต’
แต่ให้ความรู้สึกที่หยาบและรุนแรง สมชื่อ
Classic Detroit Techno : Juan Atkins, Derrick May, Kevin Saunderson, Rhythm Is Rhythm, Model 500, Drexciya, Jeff mills, Stacey Pullen
HAPPY HARDCORE
เทคโนที่แรงขึ้นไปอีก ฟังดูวุ่นวายพลุกพล่าน อึกทึก โวยวาย เหมือนเป็นการเต้นรำของคนบ้าภายใต้บีทที่เร็วถึง 180-190 ต่อนาที เสียงซินธ์กับเพียโนจะเร็ว เสียงร้องก็ถูกปรับจนเร็วเหมือนตัวซิพมังค์ เหมาะกับเด็กวัยรุ่นเมายาจนไม่รู้สึกตัว เนื้อหาจะวนเวียนกับเรื่องของยา เซ็กซ์ ความสุข เจียนบ้า
ดังมากในสก็อทแลนด์ และถูกมองว่าไม่มีคุณค่าทางดนตรี
Classic Happy Hardcore : Hixxy & Sharkey, Slipmatt, Force & Styles, DJ Eruption
GABBA
แรงขึ้นไปกว่าแฮ็ปปี้ฮาร์ดคอร์ จนเกือบจะเข้าสู่โลกของดาร์คคอร์ ซึ่งจะขยายตัวเป็นจังเกิ้ลต่อมา ดนตรีแก็บบา (มาจากภาษาดัชท์แปลว่าเพื่อน) จังหวะจะเร่งแรงขึ้นเป็น 200-400 บีทต่อนาที เกิดมาจากงานเรฟในร็อทเทอร์ดัมที่เนเธอร์แลนด์ และข้ามมาถล่มที่สก็อทแลนด์ด้วย
เนื้อร้องจะว่าด้วยความรุนแรงมากขึ้นแต่หนึไม่พ้นยา เซ็กซ์ และสงคราม
Classic Gabba : Technohead, PCP, GTO, Ultraviloence, The Horrorists, Rotterdam Terror Corps

TECH-HOUSE,JAZZ HOUSE

TECH-HOUSE
ดนตรีเฮ้าส์ที่นิยมซาวน์ดง่าย ๆ กระด้าง ๆ ของเทคโนยุคแรก ๆ หรือไม่ก็เทคโนดิบจากเบลเยี่ยมมาใส่ในตัวเพลง
Classic Tech-House : Moodyman, Funk D’Void, Daniel Ibbotson, Herbert, John Acquaviva, Dan Curtin
JAZZ HOUSE
แนวดนตรีเฮ้าส์ในยุคหลัง ที่ใช้อารมณ์ของแจ๊ซซ์ในการสร้างบรรยากาศถูกมองว่าเป็นหนึ่งในซาวน์ของดนตรีชิลล์เอ๊าท์โดยไม่ได้ตั้งใจ
มักจะได้รับความนิยมในหมู่นักตกแต่งบ้าน ที่นิยมผลงานออกแบบสุดโมเดิร์นของดีไซเนอร์จากสแกนดิเนเวีย
ตราแผ่นเสียงคอมโพสท์มาจากเยอรมันนำทีมดนตรีแนวนี้ ช่วงแรกเรียก Nu Brit House เพราะเริ่มมาจากอังกฤษ
Classic Jazz House : Jazzanove, Swayzak, Natural Calamity, Faze Action, Sensory Elements, Satoshi Tomiie, Idjut Boys, Fila Brazillia

17.9.52

ACID HOUSE,FRENCH HOUSE,SPEED GARAGEUK GARAGE,AMBIENT HOUSE,

ACID HOUSE
เฮ้าส์กลายพันธุ์สายพันธุ์แรก เกิดจากการใส่เสียงเบสส์ อันเป็นเอกลักษณ์ผ่านโรแลนด์ทีบี 303 เข้าไปเกิดอาการหลอนบวกกับการมาถึงของยาเอ็กสทาซี่ย์ (****) จึงเติมคำว่า ‘แอซิด’ แบบเดียวกับที่มีแอซิดร็อคในช่วงฮิพพี่ย์ยุค 60
ซาวน์ดสังเคราะห์จะกระแทกกระทั้นไม่เน้นเนื้อร้อง ถ้ามีก็จะวนไปวนมาพูดถึงความบ้าบอของการเต้นรำ การอยู่ด้วยกัน และการใช้ชีวิตในเวลานี้ให้ดีที่สุด
ซึ่งตรงใจคนอังกฤษ เพราะมองว่าดนตรีนี้คือการนำมาซึ่งความรัก (****ทำให้นักเต้นรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน)
Classic Acid House : The Garden Of Eden, Phuture, Adonis, Fingers Inc, Lochi
FRENCH HOUSE
มาจากฝรั่งเศสตามชื่อ เหมือนเป็นการเดินย้อนศรไปจุดเริ่มต้นของดนตรีเต้นรำหยิบความเป็นเฮ้าส์ยุคดั้งเดิม มาบวกกับดนตรีเทคโนและดิสโก้ ซาวน์ดจะออกมาย้อนยุค เชย และให้ความรู้สึกบริสุทธิ์แบบเด็ก ๆ
Classic French House : Daft Punk, Motorbass, I:Cube
SPEED GARAGE
ลูกผสมของจังหวะเฮ้าส์กับการเดินเบสส์ต่ำ ๆ ของการาจ แต่เป็นสไตล์อังกฤษ ก็เลยมีพื้นมาจากดนตรีเร็กเก้ในอดีตด้วย ดนตรีจะเร็วตามชื่อเสียงที่เปี่ยมอารมณ์ของนักร้องถูกผ่าตัดให้เป็นเสียงหุ่นยนต์ที่กระด้างขึ้น
Classic Speed Garage : Rosie Gaines, Tina Moore, Double 99, Tuff Jam
UK GARAGE
หรือคนวงในเรียก UKG กระแสดนตรีล่าสุดของอังกฤษ ที่ผนวกความหวานหยดย้อยของดนตรีการาจ เติมเสียงร้องอันทรงพลังของดนตรีโซล และการบ่นโชว์ลีลาของ MC ที่ถูกนำมากรองผ่านกระแสไฟฟ้าจนถูกโยกย้ายสลับที่ตีลังกาได้ตลอดเวลา ในขณะที่ดนตรียังคงไว้ที่ท่วงทำนองที่ติดหู เนี้ยบ คมกริบ
จึงเป็นเหมือนดนตรีใต้ดิน ที่เอาความพ็อพบนดินที่สุดมาหยอดใส่อย่างลงตัว
Classic UKG : MJ Cole, Craig David, Mis-Teeq, Sweet Female Attitude, Todd Edwards, Zed Bias, The Dreem Teem
AMBIENT HOUSE
ดนตรีเต้นรำที่เอาไว้ใช้ละลายสลายฤทธิ์ของ****ที่นักเต้นใช้ คลับบางแห่งใช้ในการอุ่นเครื่อง บางที่ใช้ไว้ประดับห้องชิลล์เอ๊าท์ เพราะฤทธิ์ยาเวลาค่อย ๆ เสื่อมจะกินเวลานาน (ช่วง come down) เพลงแนวนี้จะเติมความลอยล่องของแอมเบี้ยนท์ไว้บนจังหวะเฮ้าส์พื้น ๆ แทรกเสียงร้องที่ไปแซมเพิ่ลงานบ้านมาเป็นระยะ ๆ เนื้อเพลงมักพูดถึงโลกเหนือจริง ท้องฟ้า ธรรมชาติที่งดงาม พิภพต่างดาว ตลอดจนถึงความเชื่อในยูเอฟโอ
Classic Ambient House : 808 State, The KLF, The Orb, The Beloved, Ultramarine, Biophere, System 7

8.9.52

HOUSE MUSIC

HOUSE
ต้นตำรับดนตรีเต้นรำในยุคนี้ ถือกำเนิดในช่วงกลางขยับมาตอนปลายยุค 80 ในชิคาโก ความเร็วของบีทราว ๆ 120 ต่อนาที พอ ๆ กับจังหวะการเต้นหัวใจของคนเที่ยว เอาดนตรีดิสโก้มาเป็นพื้น มีทำนองง่าย ๆ ติดหู แต่เป็นเสียงสังเคราะห์ ตัวเบสส์ฟังดูลึก และยังเติมความเป็นลาทินโซล และพั้งค์เข้าไป ส่วนใหญ่เป็นเสียงร้องอันทรงพลังของนักร้องสาว ซึ่งไม่ถือเป็นจุดเด่นนักในช่วงแรก ๆ ก่อนที่จะแตกแขนงออกไปหลายแนว
Classic House : M People, The Bucketheads, Funky Green Dogs, Junior Vasquez, Blaze, Cevin Fisher, Joey Nego, Deep Dish, Roger Sanchez
DEEP HOUSE
ของแท้มาจากชิคาโก โดยเน้นที่ตัวเสียงนักร้องมากขึ้น บางคนก็เรียก vocal house หรือ soulful house นอกจากจะเน้นที่เสียงร้องซึ่งกลั่นมาจากอารมณ์ที่เปี่ยมรัก (ส่วนใหญ่นักร้องจะเคยร้องอ้อนวอนพระเจ้าในโบสถ์มาก่อน) ยังมีท่อนตีวนของเพียโนอีก
Classic Deep House : Joe Smooth, Ten City, Frankie Knuckles
GARAGE
ได้ชื่อมาจากคลับพาราไดซ์การาจในนิวยอร์คใกล้เคียงกับความเป็นดิสโก้ต้นตำรับมากที่สุด แม้ว่าจะใช้เครื่องดนตรีสังเคราะห์แบบเฮ้าส์ เสียงร้องอบอวลไปด้วยอารมณ์แบบดีพเฮ้าส์ แต่โพรดักชั่นของเสียงและทำนองจะเนี้ยบ และให้ความรู้สึกของความเป็น ‘ของจริง’ และ ‘มีชีวิต’ กว่า
ดีเจแนวนี้จะมีซาวน์ดที่เป็นเอกลักษณ์ บางคนจะเด่นที่จังหวะกลอง เครื่องสาย เสียงเพียโน หรือจังหวะแอฟริกันคิวบา การาจจะลื่นไหล สวยงาม ระรื่นกว่าเฮ้าส์
คลับ Ministry Of Sound ขุนแนวนี้จนดังต่อในวันนี้
Classic Garage : Todd Terry, Masters At Work, David Morales, DJ Piere, Francois Kervorkian, Ronamthony, Tony Humphries

3.9.52

RARE GROOVE,ELECTRO,AMBIENT

RARE GROOVE
จังหวะต้นตำรับของเอซิดแจ๊ซซ์ เด่นชัดที่ดนตรีของเจมส์ บราวน์ และเสียงกลองในงานช่วงกลางยุค 70 ที่ผสมดนตรีแจ๊ซซ์เข้าไป ดนตรีจะสนุกสนานและเป็นแม่แบบให้หลายแนวดนตรีเต้นรำ
Classic Rare Groove : Maceo & The Macks, The Jackson Sister, Bobby Byrd, Gwen McCrae, Minnie Ripperton
ELECTRO
ดนตรีเต้นรำที่ใช้ส่วนผสมของจังหวะพั้งค์ ฮิพฮ็อพ และเสียงสังเคราะห์จากซินธิไซเซอร์มาสร้างเป็นจังหวะที่แปรเปลี่ยนคนให้เป็นหุ่นยนต์ เสียงบีทจะแข็ง แตกพร่า แล้วหล่อเป็นรูปออกมา เป็นซาวน์ดที่เกิดขึ้นเมื่อแร็พเพอร์ค้นพบเทคโนโลยี
นี่คือรากฐานของเทคโนโลยีเวลาต่อมา
Classic Electro : Afrika Bambaataa, Arthur Baker, Man Parrish, Mantronix, ESG, LiQuid, Cybotron
AMBIENT
ถือกำเนิดขึ้นในยุคที่นักดนตรีร็อคในทศวรรษที่ 70 ค้นพบเครื่องดนตรีสังเคราะห์ จึงใช้ซาวน์ดเหล่านี้สร้างสรรพเสียงที่ล่องลอย อ้อยอิ่ง หลอกหลอน โหยหวน เสมือนปลิวอยู่กลางอากาศ และระยิบระยับไปกับรายละเอียดของเสียงแปลก ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะตีวนไป ๆ มา ๆ
ศิลปินในยุคนี้รับอิทธิพลมาใช้ในการทำดนตรีเต้นรำสไตล์ผี ๆ
Classic Ambient : Brian Eno, Can, Bill Laswell, Penguin Orchesta, Terry Riley