15.10.52

BREAKBEAT,BIG BEAT,TRIP HOP,CHILL-OUT

BREAKBEAT
อีกแนวดนตรีที่กลับไปหาความสนุกของดนตรีเต้นรำในอดีต โดยหยิบเอาช่วงเบรคมาตีวนเข้าจังหวะ และไม่ใช้วิทยาการซับซ้อนแบบจังเกิ้ลเสริมเข้าไปด้วยอิทธิพลของเทคโนเบลเยี่ยมในต้นยุค 90
Classic Breakbeat : Adam Freeland, Beber & Tamara, Layo & Bushwacka, Mr C, Freq Nasty, Tsunami One

BIG BEAT
เสียงออกมาสมชื่อเพราะเป็นบีทที่โครมครามแรงจัดจ้านโฉ่งฉ่างผสมพลังของร็อค และจังหวะโยกมัน ๆ จากฟั้งค์ถึงเฮ้าส์ โดยไปแซมเพิ่ลอะไรต่อมิอะไรมาใส่เต็มไปหมด ซึ่งเหมือนเฮ้าส์ในยุคแรก ๆ
ดนตรีแนวนี้สร้างให้คนมวลรวมออกมาเต้น ปฏิเสธดนตรีเต้นรำประเภทศิลปะคิดมากโดยสิ้นเชิง
Classic Big Beat : Bentley Rhythm Ace, The Chemical Brothers, Fatboy Slim, The Wiseguys, Lo-Wiseguys, Lo-fidelity Allstars
TRIP HOP
หรือฮิพฮ็อพช้า ๆ ที่มีการเต้นแร็พน้อยมาก เติมแซมเพิ่ลจากหนังนักสืบ/สงครามเย็น บวกอิทธิพลของเร็กเก้ โซล และ แจ๊ซซ์ ดนตรีที่เหมาะกับการพี้ยานี้ เริ่มก่อตัวในต้นยุค 90 จากเมืองบริสทอล ตอนใต้ทางอังกฤษจับกลุ่มที่หลงใหลในบีท แต่ถนัดการโยกหัวมากกว่าเต้นทั้งตัว จึงถูกขนานนามว่า Blunted เพราะเหมาะกับการถุนกัญชาขณะฟังเป็นอย่างมาก ดนตรีทริบฮ็อพขยายผู้ฟังในวงกว้าง เพราะเป็นเพลงที่ฟังสบายแม้ว่าเนื้อหาในงานเยี่ยม ๆ ของ Tricky จะบีบคั้นมากนักก็ตาม
ที่สำคัญทริบฮ็อพเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของชิลล์เอ๊าท์
Classic Trip Hop : Tricky, DJ Shadow, Potishead, Massive Attack, Howie B, DJ Food, Morcheeba
CHILL-OUT
แรกเริ่มเดิมทีใช้เรียกดนตรีที่เอาไว้ผ่อนคลายหลังการใช้****ในคลับ รวมไปถึงเพลงอุ่นเครื่องในบาร์ที่เกาะอิบิซ่า ที่มักเปิดเวลานักเที่ยวแห่ไปดูพระอาทิตย์ตก ต่อมาใช้กับเหตุการณ์แห่กลับไปบ้านเพื่อนหลังจากการเต้นสุดเหวี่ยง พอถึงบ้านก็จะเข้าไปค้นกองแผ่นเสียง และหาเพลงที่เข้าบรรยากาศช่วงก่อนเช้า
ชิลล์เอ๊าท์ หมายถึง ความรู้สึกผ่านดนตรีมากกว่าลักษณะทางดนตรี เพราฉะนั้นศิลปินจึงหลากหลายตั้งแต่งานเก่า ๆ ยุค 60-70 เรื่อยไปจนถึงศิลปินที่ทำแต่ชิลล์เอ๊าท์จริง ๆ ในยุคนี้อัลบั้มรวมเพลงชิลล์เอ๊าท์ กลายเป็นตัวทำเงินให้กับค่ายเทปเป็นอย่างมาก โดยใช้หลักการว่าเราควรจะพักผ่อนหลังจากทำงานเครียอดจึงเปิดตลาดเพลงเต้นรำ (ที่ไม่เต้นเลย) ให้กับคนในวงกว้าง
ภาพลักษณ์ที่ออกมาเป็นพวกหนุ่มสาวในชุดดีไซเนอร์ นั่งอยู่บนเฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่ดีไซน์ล้ำยุคจากสแกนดิเนเวีย พุ่งตรงจากแคททาล็อคหรือไม่ก็บรรยากาศอบอวลรัญจวนใจบนกราฟฟิคสะอาด ๆ เนี้ยบ ๆ สีจัด ๆ
เพลงเหล่านี้มักถูกเปิดตามร้านของตกแต่งบ้าน
Classic Chill-Out : Goldfrapp, Air, Zero 7, Bent, Lemon Jelly, Jose Padilla, Mandalay, Blue States, Kinobe และอาจจะรวมไปถึงงานโฟล์คซองของ John Denver ของคุณน้าที่บ้านด้วยก็ได้

8.10.52

JUNGLE,DRUM ‘N’ BASS

JUNGLE
ดนตรีเมดอินลอนดอนแท้ ๆ เกิดจากการแตกแขนงของดนตรีแฮปปี้ฮาร์ดคอร์ ที่การใช้ยากลายเป็นเรื่องรุนแรง และก้าวเข้าสู่ด้านมืด นักดนตรีเริ่มนำ เบรคบีทมาตีวน (เบรคบีทคือช่วงของเครื่องดนตรีเคาะที่มีในดนตรีฟั้งค์/ดิสโก้ ซึ่งถูกใช้อย่างหนักกับดนตรีฮิพฮ็อพ) แต่พวกเขาไม่เอาเบรบีทมาใช้ง่าย ๆ เบรคบีทเหล่านั้นถูกเอาเข้าเครื่องสับเป็นชิ้น ๆ แล้วเรียงใหม่ โดยปฏิเสธทำนองและความกลมกลืน ใช้จังหวะเป็นทำนองแทน
จากนั้นก็ถูกบรรดา MC บ่นพร่ำพรูเสียงตามสไตล์เร็กเก้ดิบ ๆ (ที่เรียกว่าเร็กก้า) ลงไป จังหวะของมันเร็วประมาณ 50-160 บีทต่อนาทีและทำให้คนดำหันมาสนใจซาวน์ดนี้ แทนที่จะชอบแต่ฮิพฮ็อพ จังเกิ้ลจึงเป็นวัฒนธรรมดนตรีเดียวที่ไม่บ่งบอกผิวสี เพราะผิวดำกับขาวรวมตัวกันกลมกลืน แบบคำว่า Jungle Fever (การแต่งงานของคนต่างสีผิว)
ดนตรีจังเกิ้ลจะดิบกร้าน แรง และอยู่ใต้ดิน
Classic Jungle : Original Unknown, DJ Hype, Hyper-On-Experience, Renegade, Shy FX, 2 Bad Mice
DRUM ‘N’ BASS
จังเกิ้ลกับดรัมแอนด์เบสส์ไม่เหมือนกัน ดรัมแอนด์เบสส์จะเป็นซาวน์ดของจังเกิ้ลที่ถูกขัดสีฉวีวรรณ ขนัดความดิบกร้านให้มาอยู่บนดินมากขึ้น มีการเติมเสียงเครื่องสายลงไป เพื่อสร้างทำนอง แทนที่จะใช้เบรคบีทอย่างเดียว ผลลัพธ์จะเป็นซาวน์ดที่ได้อารมณ์ไหลลื่น เหมือนลอยไปนอกโลก ความรู้สึกของการ ‘มีชีวิต’ มากขึ้น ปราศจากการบ่นคำหยาบของ MC เนื้อเพลงมองโลกในแง่ดี จนกระทั่งถึงขนาดเติมเครื่องเป่าลงไป จนเกือบเหมือนดนตรีแจ๊ซซ์ฟั้งค์ในยุค 70 ซึ่งขยายคนฟังขึ้นมาก
จนบางครั้งถูกตราหน้าว่าเป็นอินเทลลิเจนท์ดรัมแอนด์เบสส์ม แจ๊ซซ์สเต็พ หรือแอมเบี้ยนท์จังเกิ้ล
Classic Drum ‘n Bass : LTJ Bukem, E-Z Rollers, Goldie, 4 Hero, Omni Trio, Boymerang, A Guy Called Geraid, Jacob’s Optical Staairway, Photek, Alex Reece
ดนตรีแนวจังเกิ้ลยังมีสาขาปลีกย่อยอีกมากมาย อย่าง Techstep ที่มีการเติมจังหวะ และสไตล์กลองแบบเทคโนเข้าไป ไม่ใช่เทคโนจากดีทรอยซ์ หากเป็นเทคโนของเบลเยี่ยมอย่าง T-99 มากกว่า ขยายมาจนถึง Jump-up ที่เสียงบีทจะกระตุกจนคุณแทบอยากกระโดด Two-Step ได้ชื่อมาเพราะจังหวะคิกกลองลงที่ 2 กับ 4 (เลขคู่) ส่วน Darkcore คือการกลายพันธุ์ตรงมาจากเทคโน และรับอิทธิพลของยาเสพติดสร้างบรรยากาศที่หนักแน่น ปั่นป่วนและลึกลับขึ้น (งานของ ED Rush) และ Jazz Jungle ที่มีการใช้เครื่องดนตรีแจ๊ซซ์จริง ๆ มาทำเพลง เด่นมาก ๆ กับงานของ Roni Size/Reprazent, Peshay และศิลปินแจ๊ซซ์อย่าง Courtney Pine

TRANCE

TRANCE
แนวดนตรีเต้นรำที่ประสบความสำเร็จในวงกว้างที่สุด เสียงจะลอยล่องชวนฝัน เหมือนจะดึงคนฟังกับนักเต้นให้อยู่ในภวังค์ตามชื่อ จังหวะจะตีวนไปวนมา และค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นเรื่อย ๆ พอถึงจุดสุดยอด ก็จะอัดลงมากระแทกกระทั้น ซึ่งสมบูรณ์แบบมากสำหรับการเต้นรำ เพราะพอถึงจุดไคลแมกซ์นักเต้นจะกระโดดขึ้น และชูมือเหนือหัวพร้อม ๆ กัน
เริ่มต้นมาจากในเยอรมัน ช่วงต้นยุค 90 ผ่านเสียงแรง ๆ จากเบลเยี่ยม จนมาเกิดใหม่ในอังกฤษช่วงปลายทศวรรษ เมื่อมีการเติมจังหวะเบรคบีทเข้าไป (จนเรยกกลาง ๆ ว่า โพรเกราซีฟแทรนซ์) และแต่งให้พ็อพขึ้น
แทรนซ์เป็นดนตรีที่เล่นกันตามคลับในอังกฤษมากที่สุด
Classic Trance : Joey Beltram, CJ Bolland, Jam & Spoon, Paul Oakenfold, Danny Rampling, Sasha & Digweed, Judge Jules, Paul Van Dyk, Seb Fontaine, Tony De Vit
GOA TRANCE
ได้ชื่อมาจากแคว้นหนึ่งตามชายฝั่งทางใต้ของอินเดีย ซึ่งเป็นสวรรค์เสพยาของบรรดาผู้แสวงหามาหลายปี ดนตรีเป็นแทรนซ์แต่ว่ายาที่ใช้หลอนประสาทกว่า (แอลเอสดี) ยิ่งได้ผสมผสานกัลกลิ่นกำยานและวัฒนธรรมของอินเดียอย่างส่าหรี/ชิทาร์เข้าไปอีก ความมึนเมาก็ทวีคูณขึ้นเป็นสิบเท่า
ดนตรีแนวนี้แทบไม่ปรากฎในวิทยุ แต่ดังในคลับ กระนั้นก็ถูกมองว่าเป็นดนตรีของฮิพพี่ย์ยุคดิจิทอลแทน
Classic Gea : Eat Static, Man With No Name, Dragonfly (ตราแผ่นเสียง), Return To The Source
IDM
ย่อมาจาก Intelligent Dance Music พัฒนามาจากอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะตราแผ่นเสียงอย่างวาร์พ ที่ทำดนตรีเทคโนที่เหมาะกับการนั่งฟังพินิจพิจารณา มากกว่าออกไปเต้น เพราะไม่มีจังหวะช่วงเร่งเร้าอารมณ์นัก ตัวดนตรีจะซับซ้อนและเต็มไปด้วยรายละเอียดมากกว่าจนเป็นที่ฌปรดปรานของนักวิจารณ์
ในยุคแรก ๆ เพลงเหล่านี้บรรจุไว้ในห้องซิลล์เอ๊าท์ สำหรับลดดีกรีของ**** ดนตรีจะพัฒนาและมีการลองผิดลองถูกอยู่ตลอดเวลา แม้แต่ในปัจจุบันที่ยังคงมีรูปแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างแนวลิทช์ หรือคลิคส์แอนด์คัทส์ที่เกิดขึ้นจากการใช้คอมพิวเตอร์สมัยใหม่เข้าช่วยสร้างเสียงของการตัดแปะที่ปราศจากรูปแบบที่เป็นแบบแผนอย่างมีระเบียบ
งานเหล่านี้ได้รับความนิยมในเยอรมัน อังกฤษ และซานฟรานซิสโก ซึ่งจะมีผลงานออกมาอยู่ทุกสัปดาห์ ทั้งในรูปของซิงเกิ้ล 7 นิ้ว และอัลบั้มเต็ม ๆ
Classic IDM : Pole, Kid606. V/VM, Boards Of Canada, Autechre, Aphex Twin, Black Dog และตราแผ่นเสียงอย่าง Skam, Violent Turd, Mille Plateaux, Force Inc, Rephlex และ Fat Cat
สาขาปลีกย่อยของเทคโนยังมีกลุ่ม Stadium Techno ที่สามารถเล่นสดได้ และนิยมทำผลงานเป็นอัลบั้ม อย่าง Future Sound Of London, The Prodigy, Orbital และ Underworld ซึ่งบางทีถูกเรียกรวม ๆ ว่า Electronics