9.11.52

ขออภัยที่หายไปนาน

ต้องขออภัยด้วยนะคัพ ที่ไม่ได้เข้ามาอัพเดตเว็ป เนื่องจากติดภาระกิจอันยิ่งใหญ่อยู่ ขณะนี้เว็ปไซส์เองก็เสร็จไป 60% แล้ว อดใจรออีกนิดนะคัพ

15.10.52

BREAKBEAT,BIG BEAT,TRIP HOP,CHILL-OUT

BREAKBEAT
อีกแนวดนตรีที่กลับไปหาความสนุกของดนตรีเต้นรำในอดีต โดยหยิบเอาช่วงเบรคมาตีวนเข้าจังหวะ และไม่ใช้วิทยาการซับซ้อนแบบจังเกิ้ลเสริมเข้าไปด้วยอิทธิพลของเทคโนเบลเยี่ยมในต้นยุค 90
Classic Breakbeat : Adam Freeland, Beber & Tamara, Layo & Bushwacka, Mr C, Freq Nasty, Tsunami One

BIG BEAT
เสียงออกมาสมชื่อเพราะเป็นบีทที่โครมครามแรงจัดจ้านโฉ่งฉ่างผสมพลังของร็อค และจังหวะโยกมัน ๆ จากฟั้งค์ถึงเฮ้าส์ โดยไปแซมเพิ่ลอะไรต่อมิอะไรมาใส่เต็มไปหมด ซึ่งเหมือนเฮ้าส์ในยุคแรก ๆ
ดนตรีแนวนี้สร้างให้คนมวลรวมออกมาเต้น ปฏิเสธดนตรีเต้นรำประเภทศิลปะคิดมากโดยสิ้นเชิง
Classic Big Beat : Bentley Rhythm Ace, The Chemical Brothers, Fatboy Slim, The Wiseguys, Lo-Wiseguys, Lo-fidelity Allstars
TRIP HOP
หรือฮิพฮ็อพช้า ๆ ที่มีการเต้นแร็พน้อยมาก เติมแซมเพิ่ลจากหนังนักสืบ/สงครามเย็น บวกอิทธิพลของเร็กเก้ โซล และ แจ๊ซซ์ ดนตรีที่เหมาะกับการพี้ยานี้ เริ่มก่อตัวในต้นยุค 90 จากเมืองบริสทอล ตอนใต้ทางอังกฤษจับกลุ่มที่หลงใหลในบีท แต่ถนัดการโยกหัวมากกว่าเต้นทั้งตัว จึงถูกขนานนามว่า Blunted เพราะเหมาะกับการถุนกัญชาขณะฟังเป็นอย่างมาก ดนตรีทริบฮ็อพขยายผู้ฟังในวงกว้าง เพราะเป็นเพลงที่ฟังสบายแม้ว่าเนื้อหาในงานเยี่ยม ๆ ของ Tricky จะบีบคั้นมากนักก็ตาม
ที่สำคัญทริบฮ็อพเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของชิลล์เอ๊าท์
Classic Trip Hop : Tricky, DJ Shadow, Potishead, Massive Attack, Howie B, DJ Food, Morcheeba
CHILL-OUT
แรกเริ่มเดิมทีใช้เรียกดนตรีที่เอาไว้ผ่อนคลายหลังการใช้****ในคลับ รวมไปถึงเพลงอุ่นเครื่องในบาร์ที่เกาะอิบิซ่า ที่มักเปิดเวลานักเที่ยวแห่ไปดูพระอาทิตย์ตก ต่อมาใช้กับเหตุการณ์แห่กลับไปบ้านเพื่อนหลังจากการเต้นสุดเหวี่ยง พอถึงบ้านก็จะเข้าไปค้นกองแผ่นเสียง และหาเพลงที่เข้าบรรยากาศช่วงก่อนเช้า
ชิลล์เอ๊าท์ หมายถึง ความรู้สึกผ่านดนตรีมากกว่าลักษณะทางดนตรี เพราฉะนั้นศิลปินจึงหลากหลายตั้งแต่งานเก่า ๆ ยุค 60-70 เรื่อยไปจนถึงศิลปินที่ทำแต่ชิลล์เอ๊าท์จริง ๆ ในยุคนี้อัลบั้มรวมเพลงชิลล์เอ๊าท์ กลายเป็นตัวทำเงินให้กับค่ายเทปเป็นอย่างมาก โดยใช้หลักการว่าเราควรจะพักผ่อนหลังจากทำงานเครียอดจึงเปิดตลาดเพลงเต้นรำ (ที่ไม่เต้นเลย) ให้กับคนในวงกว้าง
ภาพลักษณ์ที่ออกมาเป็นพวกหนุ่มสาวในชุดดีไซเนอร์ นั่งอยู่บนเฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่ดีไซน์ล้ำยุคจากสแกนดิเนเวีย พุ่งตรงจากแคททาล็อคหรือไม่ก็บรรยากาศอบอวลรัญจวนใจบนกราฟฟิคสะอาด ๆ เนี้ยบ ๆ สีจัด ๆ
เพลงเหล่านี้มักถูกเปิดตามร้านของตกแต่งบ้าน
Classic Chill-Out : Goldfrapp, Air, Zero 7, Bent, Lemon Jelly, Jose Padilla, Mandalay, Blue States, Kinobe และอาจจะรวมไปถึงงานโฟล์คซองของ John Denver ของคุณน้าที่บ้านด้วยก็ได้

8.10.52

JUNGLE,DRUM ‘N’ BASS

JUNGLE
ดนตรีเมดอินลอนดอนแท้ ๆ เกิดจากการแตกแขนงของดนตรีแฮปปี้ฮาร์ดคอร์ ที่การใช้ยากลายเป็นเรื่องรุนแรง และก้าวเข้าสู่ด้านมืด นักดนตรีเริ่มนำ เบรคบีทมาตีวน (เบรคบีทคือช่วงของเครื่องดนตรีเคาะที่มีในดนตรีฟั้งค์/ดิสโก้ ซึ่งถูกใช้อย่างหนักกับดนตรีฮิพฮ็อพ) แต่พวกเขาไม่เอาเบรบีทมาใช้ง่าย ๆ เบรคบีทเหล่านั้นถูกเอาเข้าเครื่องสับเป็นชิ้น ๆ แล้วเรียงใหม่ โดยปฏิเสธทำนองและความกลมกลืน ใช้จังหวะเป็นทำนองแทน
จากนั้นก็ถูกบรรดา MC บ่นพร่ำพรูเสียงตามสไตล์เร็กเก้ดิบ ๆ (ที่เรียกว่าเร็กก้า) ลงไป จังหวะของมันเร็วประมาณ 50-160 บีทต่อนาทีและทำให้คนดำหันมาสนใจซาวน์ดนี้ แทนที่จะชอบแต่ฮิพฮ็อพ จังเกิ้ลจึงเป็นวัฒนธรรมดนตรีเดียวที่ไม่บ่งบอกผิวสี เพราะผิวดำกับขาวรวมตัวกันกลมกลืน แบบคำว่า Jungle Fever (การแต่งงานของคนต่างสีผิว)
ดนตรีจังเกิ้ลจะดิบกร้าน แรง และอยู่ใต้ดิน
Classic Jungle : Original Unknown, DJ Hype, Hyper-On-Experience, Renegade, Shy FX, 2 Bad Mice
DRUM ‘N’ BASS
จังเกิ้ลกับดรัมแอนด์เบสส์ไม่เหมือนกัน ดรัมแอนด์เบสส์จะเป็นซาวน์ดของจังเกิ้ลที่ถูกขัดสีฉวีวรรณ ขนัดความดิบกร้านให้มาอยู่บนดินมากขึ้น มีการเติมเสียงเครื่องสายลงไป เพื่อสร้างทำนอง แทนที่จะใช้เบรคบีทอย่างเดียว ผลลัพธ์จะเป็นซาวน์ดที่ได้อารมณ์ไหลลื่น เหมือนลอยไปนอกโลก ความรู้สึกของการ ‘มีชีวิต’ มากขึ้น ปราศจากการบ่นคำหยาบของ MC เนื้อเพลงมองโลกในแง่ดี จนกระทั่งถึงขนาดเติมเครื่องเป่าลงไป จนเกือบเหมือนดนตรีแจ๊ซซ์ฟั้งค์ในยุค 70 ซึ่งขยายคนฟังขึ้นมาก
จนบางครั้งถูกตราหน้าว่าเป็นอินเทลลิเจนท์ดรัมแอนด์เบสส์ม แจ๊ซซ์สเต็พ หรือแอมเบี้ยนท์จังเกิ้ล
Classic Drum ‘n Bass : LTJ Bukem, E-Z Rollers, Goldie, 4 Hero, Omni Trio, Boymerang, A Guy Called Geraid, Jacob’s Optical Staairway, Photek, Alex Reece
ดนตรีแนวจังเกิ้ลยังมีสาขาปลีกย่อยอีกมากมาย อย่าง Techstep ที่มีการเติมจังหวะ และสไตล์กลองแบบเทคโนเข้าไป ไม่ใช่เทคโนจากดีทรอยซ์ หากเป็นเทคโนของเบลเยี่ยมอย่าง T-99 มากกว่า ขยายมาจนถึง Jump-up ที่เสียงบีทจะกระตุกจนคุณแทบอยากกระโดด Two-Step ได้ชื่อมาเพราะจังหวะคิกกลองลงที่ 2 กับ 4 (เลขคู่) ส่วน Darkcore คือการกลายพันธุ์ตรงมาจากเทคโน และรับอิทธิพลของยาเสพติดสร้างบรรยากาศที่หนักแน่น ปั่นป่วนและลึกลับขึ้น (งานของ ED Rush) และ Jazz Jungle ที่มีการใช้เครื่องดนตรีแจ๊ซซ์จริง ๆ มาทำเพลง เด่นมาก ๆ กับงานของ Roni Size/Reprazent, Peshay และศิลปินแจ๊ซซ์อย่าง Courtney Pine

TRANCE

TRANCE
แนวดนตรีเต้นรำที่ประสบความสำเร็จในวงกว้างที่สุด เสียงจะลอยล่องชวนฝัน เหมือนจะดึงคนฟังกับนักเต้นให้อยู่ในภวังค์ตามชื่อ จังหวะจะตีวนไปวนมา และค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นเรื่อย ๆ พอถึงจุดสุดยอด ก็จะอัดลงมากระแทกกระทั้น ซึ่งสมบูรณ์แบบมากสำหรับการเต้นรำ เพราะพอถึงจุดไคลแมกซ์นักเต้นจะกระโดดขึ้น และชูมือเหนือหัวพร้อม ๆ กัน
เริ่มต้นมาจากในเยอรมัน ช่วงต้นยุค 90 ผ่านเสียงแรง ๆ จากเบลเยี่ยม จนมาเกิดใหม่ในอังกฤษช่วงปลายทศวรรษ เมื่อมีการเติมจังหวะเบรคบีทเข้าไป (จนเรยกกลาง ๆ ว่า โพรเกราซีฟแทรนซ์) และแต่งให้พ็อพขึ้น
แทรนซ์เป็นดนตรีที่เล่นกันตามคลับในอังกฤษมากที่สุด
Classic Trance : Joey Beltram, CJ Bolland, Jam & Spoon, Paul Oakenfold, Danny Rampling, Sasha & Digweed, Judge Jules, Paul Van Dyk, Seb Fontaine, Tony De Vit
GOA TRANCE
ได้ชื่อมาจากแคว้นหนึ่งตามชายฝั่งทางใต้ของอินเดีย ซึ่งเป็นสวรรค์เสพยาของบรรดาผู้แสวงหามาหลายปี ดนตรีเป็นแทรนซ์แต่ว่ายาที่ใช้หลอนประสาทกว่า (แอลเอสดี) ยิ่งได้ผสมผสานกัลกลิ่นกำยานและวัฒนธรรมของอินเดียอย่างส่าหรี/ชิทาร์เข้าไปอีก ความมึนเมาก็ทวีคูณขึ้นเป็นสิบเท่า
ดนตรีแนวนี้แทบไม่ปรากฎในวิทยุ แต่ดังในคลับ กระนั้นก็ถูกมองว่าเป็นดนตรีของฮิพพี่ย์ยุคดิจิทอลแทน
Classic Gea : Eat Static, Man With No Name, Dragonfly (ตราแผ่นเสียง), Return To The Source
IDM
ย่อมาจาก Intelligent Dance Music พัฒนามาจากอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะตราแผ่นเสียงอย่างวาร์พ ที่ทำดนตรีเทคโนที่เหมาะกับการนั่งฟังพินิจพิจารณา มากกว่าออกไปเต้น เพราะไม่มีจังหวะช่วงเร่งเร้าอารมณ์นัก ตัวดนตรีจะซับซ้อนและเต็มไปด้วยรายละเอียดมากกว่าจนเป็นที่ฌปรดปรานของนักวิจารณ์
ในยุคแรก ๆ เพลงเหล่านี้บรรจุไว้ในห้องซิลล์เอ๊าท์ สำหรับลดดีกรีของ**** ดนตรีจะพัฒนาและมีการลองผิดลองถูกอยู่ตลอดเวลา แม้แต่ในปัจจุบันที่ยังคงมีรูปแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างแนวลิทช์ หรือคลิคส์แอนด์คัทส์ที่เกิดขึ้นจากการใช้คอมพิวเตอร์สมัยใหม่เข้าช่วยสร้างเสียงของการตัดแปะที่ปราศจากรูปแบบที่เป็นแบบแผนอย่างมีระเบียบ
งานเหล่านี้ได้รับความนิยมในเยอรมัน อังกฤษ และซานฟรานซิสโก ซึ่งจะมีผลงานออกมาอยู่ทุกสัปดาห์ ทั้งในรูปของซิงเกิ้ล 7 นิ้ว และอัลบั้มเต็ม ๆ
Classic IDM : Pole, Kid606. V/VM, Boards Of Canada, Autechre, Aphex Twin, Black Dog และตราแผ่นเสียงอย่าง Skam, Violent Turd, Mille Plateaux, Force Inc, Rephlex และ Fat Cat
สาขาปลีกย่อยของเทคโนยังมีกลุ่ม Stadium Techno ที่สามารถเล่นสดได้ และนิยมทำผลงานเป็นอัลบั้ม อย่าง Future Sound Of London, The Prodigy, Orbital และ Underworld ซึ่งบางทีถูกเรียกรวม ๆ ว่า Electronics

26.9.52

TECHNO GENRES

TECHNO
ในขณะที่เฮ้าส์เป็นดนตรีที่ลื่นไหลเนี้ยบสวยงาม ดนตรีเทคโนจะรุนแรงและดุดันกว่า เทคโนถูกออกแบบมาให้กลุ่มเล็ก ๆ โดยเฉพาะ
นี่คือดนตรีอีเลคโทรนิคอย่างแท้จริง ซาวน์ดจะออกเป็นเครื่องจักร ดิบแระกระด้างมากกว่า
เสียงประกอบยังขโมยมาจากเสียงจักรกลรอบตัว ตั้งแต่เสียงไซเรนจนถึงคำพูดจากในภาพยนตร์ ความเร็วของบีทจะเร็วกว่าเฮ้าส์ปกติที่ 126-130 ซึ่งเวลาแตกแขนงแนวออกไป จะมีบีทที่เริ่มจากศูนย์จนไปถึง 140 ของแทรนซ์ และ 220 หรือมากกว่าในดนตรีฮาร์ดคอร์ เทคโนเริ่มจากการเป็นดนตรีใต้ดิน แต่ไปเกิดในอังกฤษ และขยายวงกว้าง
Classic Techno : Aphex Twin, Dave Clarke, Darren Price, Silent Phase, Kenny Larkin, Plastikman, B-12
DETROIT TECHNO
ต้นแบบของเทคโนมาจากเมืองดีทรอยซ์ เมืองแห่งอุตสาหกรรมทางตอนเหนืออันหนาวเหน็บไร้ชีวิตชีวาของอเมริกา ดีทรอยท์ให้กำเนิดดนตรีพี-ฟั้งค์ และเป็นบ้านของค่ายโมทาวน์มาก่อน
เทคโนเกิดจากการเอาส่วนย่อยของฟั้งค์ มารวมกับดนตรีสังเคราะห์จากยุโรป (บรรดาวงอย่าง Kraftwerk, Depeche Mode, Cabaret Volaire) โดยเน้นที่การสร้างจังหวะท่ ‘ไม่มีชีวิต’
แต่ให้ความรู้สึกที่หยาบและรุนแรง สมชื่อ
Classic Detroit Techno : Juan Atkins, Derrick May, Kevin Saunderson, Rhythm Is Rhythm, Model 500, Drexciya, Jeff mills, Stacey Pullen
HAPPY HARDCORE
เทคโนที่แรงขึ้นไปอีก ฟังดูวุ่นวายพลุกพล่าน อึกทึก โวยวาย เหมือนเป็นการเต้นรำของคนบ้าภายใต้บีทที่เร็วถึง 180-190 ต่อนาที เสียงซินธ์กับเพียโนจะเร็ว เสียงร้องก็ถูกปรับจนเร็วเหมือนตัวซิพมังค์ เหมาะกับเด็กวัยรุ่นเมายาจนไม่รู้สึกตัว เนื้อหาจะวนเวียนกับเรื่องของยา เซ็กซ์ ความสุข เจียนบ้า
ดังมากในสก็อทแลนด์ และถูกมองว่าไม่มีคุณค่าทางดนตรี
Classic Happy Hardcore : Hixxy & Sharkey, Slipmatt, Force & Styles, DJ Eruption
GABBA
แรงขึ้นไปกว่าแฮ็ปปี้ฮาร์ดคอร์ จนเกือบจะเข้าสู่โลกของดาร์คคอร์ ซึ่งจะขยายตัวเป็นจังเกิ้ลต่อมา ดนตรีแก็บบา (มาจากภาษาดัชท์แปลว่าเพื่อน) จังหวะจะเร่งแรงขึ้นเป็น 200-400 บีทต่อนาที เกิดมาจากงานเรฟในร็อทเทอร์ดัมที่เนเธอร์แลนด์ และข้ามมาถล่มที่สก็อทแลนด์ด้วย
เนื้อร้องจะว่าด้วยความรุนแรงมากขึ้นแต่หนึไม่พ้นยา เซ็กซ์ และสงคราม
Classic Gabba : Technohead, PCP, GTO, Ultraviloence, The Horrorists, Rotterdam Terror Corps

TECH-HOUSE,JAZZ HOUSE

TECH-HOUSE
ดนตรีเฮ้าส์ที่นิยมซาวน์ดง่าย ๆ กระด้าง ๆ ของเทคโนยุคแรก ๆ หรือไม่ก็เทคโนดิบจากเบลเยี่ยมมาใส่ในตัวเพลง
Classic Tech-House : Moodyman, Funk D’Void, Daniel Ibbotson, Herbert, John Acquaviva, Dan Curtin
JAZZ HOUSE
แนวดนตรีเฮ้าส์ในยุคหลัง ที่ใช้อารมณ์ของแจ๊ซซ์ในการสร้างบรรยากาศถูกมองว่าเป็นหนึ่งในซาวน์ของดนตรีชิลล์เอ๊าท์โดยไม่ได้ตั้งใจ
มักจะได้รับความนิยมในหมู่นักตกแต่งบ้าน ที่นิยมผลงานออกแบบสุดโมเดิร์นของดีไซเนอร์จากสแกนดิเนเวีย
ตราแผ่นเสียงคอมโพสท์มาจากเยอรมันนำทีมดนตรีแนวนี้ ช่วงแรกเรียก Nu Brit House เพราะเริ่มมาจากอังกฤษ
Classic Jazz House : Jazzanove, Swayzak, Natural Calamity, Faze Action, Sensory Elements, Satoshi Tomiie, Idjut Boys, Fila Brazillia

17.9.52

ACID HOUSE,FRENCH HOUSE,SPEED GARAGEUK GARAGE,AMBIENT HOUSE,

ACID HOUSE
เฮ้าส์กลายพันธุ์สายพันธุ์แรก เกิดจากการใส่เสียงเบสส์ อันเป็นเอกลักษณ์ผ่านโรแลนด์ทีบี 303 เข้าไปเกิดอาการหลอนบวกกับการมาถึงของยาเอ็กสทาซี่ย์ (****) จึงเติมคำว่า ‘แอซิด’ แบบเดียวกับที่มีแอซิดร็อคในช่วงฮิพพี่ย์ยุค 60
ซาวน์ดสังเคราะห์จะกระแทกกระทั้นไม่เน้นเนื้อร้อง ถ้ามีก็จะวนไปวนมาพูดถึงความบ้าบอของการเต้นรำ การอยู่ด้วยกัน และการใช้ชีวิตในเวลานี้ให้ดีที่สุด
ซึ่งตรงใจคนอังกฤษ เพราะมองว่าดนตรีนี้คือการนำมาซึ่งความรัก (****ทำให้นักเต้นรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน)
Classic Acid House : The Garden Of Eden, Phuture, Adonis, Fingers Inc, Lochi
FRENCH HOUSE
มาจากฝรั่งเศสตามชื่อ เหมือนเป็นการเดินย้อนศรไปจุดเริ่มต้นของดนตรีเต้นรำหยิบความเป็นเฮ้าส์ยุคดั้งเดิม มาบวกกับดนตรีเทคโนและดิสโก้ ซาวน์ดจะออกมาย้อนยุค เชย และให้ความรู้สึกบริสุทธิ์แบบเด็ก ๆ
Classic French House : Daft Punk, Motorbass, I:Cube
SPEED GARAGE
ลูกผสมของจังหวะเฮ้าส์กับการเดินเบสส์ต่ำ ๆ ของการาจ แต่เป็นสไตล์อังกฤษ ก็เลยมีพื้นมาจากดนตรีเร็กเก้ในอดีตด้วย ดนตรีจะเร็วตามชื่อเสียงที่เปี่ยมอารมณ์ของนักร้องถูกผ่าตัดให้เป็นเสียงหุ่นยนต์ที่กระด้างขึ้น
Classic Speed Garage : Rosie Gaines, Tina Moore, Double 99, Tuff Jam
UK GARAGE
หรือคนวงในเรียก UKG กระแสดนตรีล่าสุดของอังกฤษ ที่ผนวกความหวานหยดย้อยของดนตรีการาจ เติมเสียงร้องอันทรงพลังของดนตรีโซล และการบ่นโชว์ลีลาของ MC ที่ถูกนำมากรองผ่านกระแสไฟฟ้าจนถูกโยกย้ายสลับที่ตีลังกาได้ตลอดเวลา ในขณะที่ดนตรียังคงไว้ที่ท่วงทำนองที่ติดหู เนี้ยบ คมกริบ
จึงเป็นเหมือนดนตรีใต้ดิน ที่เอาความพ็อพบนดินที่สุดมาหยอดใส่อย่างลงตัว
Classic UKG : MJ Cole, Craig David, Mis-Teeq, Sweet Female Attitude, Todd Edwards, Zed Bias, The Dreem Teem
AMBIENT HOUSE
ดนตรีเต้นรำที่เอาไว้ใช้ละลายสลายฤทธิ์ของ****ที่นักเต้นใช้ คลับบางแห่งใช้ในการอุ่นเครื่อง บางที่ใช้ไว้ประดับห้องชิลล์เอ๊าท์ เพราะฤทธิ์ยาเวลาค่อย ๆ เสื่อมจะกินเวลานาน (ช่วง come down) เพลงแนวนี้จะเติมความลอยล่องของแอมเบี้ยนท์ไว้บนจังหวะเฮ้าส์พื้น ๆ แทรกเสียงร้องที่ไปแซมเพิ่ลงานบ้านมาเป็นระยะ ๆ เนื้อเพลงมักพูดถึงโลกเหนือจริง ท้องฟ้า ธรรมชาติที่งดงาม พิภพต่างดาว ตลอดจนถึงความเชื่อในยูเอฟโอ
Classic Ambient House : 808 State, The KLF, The Orb, The Beloved, Ultramarine, Biophere, System 7

8.9.52

HOUSE MUSIC

HOUSE
ต้นตำรับดนตรีเต้นรำในยุคนี้ ถือกำเนิดในช่วงกลางขยับมาตอนปลายยุค 80 ในชิคาโก ความเร็วของบีทราว ๆ 120 ต่อนาที พอ ๆ กับจังหวะการเต้นหัวใจของคนเที่ยว เอาดนตรีดิสโก้มาเป็นพื้น มีทำนองง่าย ๆ ติดหู แต่เป็นเสียงสังเคราะห์ ตัวเบสส์ฟังดูลึก และยังเติมความเป็นลาทินโซล และพั้งค์เข้าไป ส่วนใหญ่เป็นเสียงร้องอันทรงพลังของนักร้องสาว ซึ่งไม่ถือเป็นจุดเด่นนักในช่วงแรก ๆ ก่อนที่จะแตกแขนงออกไปหลายแนว
Classic House : M People, The Bucketheads, Funky Green Dogs, Junior Vasquez, Blaze, Cevin Fisher, Joey Nego, Deep Dish, Roger Sanchez
DEEP HOUSE
ของแท้มาจากชิคาโก โดยเน้นที่ตัวเสียงนักร้องมากขึ้น บางคนก็เรียก vocal house หรือ soulful house นอกจากจะเน้นที่เสียงร้องซึ่งกลั่นมาจากอารมณ์ที่เปี่ยมรัก (ส่วนใหญ่นักร้องจะเคยร้องอ้อนวอนพระเจ้าในโบสถ์มาก่อน) ยังมีท่อนตีวนของเพียโนอีก
Classic Deep House : Joe Smooth, Ten City, Frankie Knuckles
GARAGE
ได้ชื่อมาจากคลับพาราไดซ์การาจในนิวยอร์คใกล้เคียงกับความเป็นดิสโก้ต้นตำรับมากที่สุด แม้ว่าจะใช้เครื่องดนตรีสังเคราะห์แบบเฮ้าส์ เสียงร้องอบอวลไปด้วยอารมณ์แบบดีพเฮ้าส์ แต่โพรดักชั่นของเสียงและทำนองจะเนี้ยบ และให้ความรู้สึกของความเป็น ‘ของจริง’ และ ‘มีชีวิต’ กว่า
ดีเจแนวนี้จะมีซาวน์ดที่เป็นเอกลักษณ์ บางคนจะเด่นที่จังหวะกลอง เครื่องสาย เสียงเพียโน หรือจังหวะแอฟริกันคิวบา การาจจะลื่นไหล สวยงาม ระรื่นกว่าเฮ้าส์
คลับ Ministry Of Sound ขุนแนวนี้จนดังต่อในวันนี้
Classic Garage : Todd Terry, Masters At Work, David Morales, DJ Piere, Francois Kervorkian, Ronamthony, Tony Humphries

3.9.52

RARE GROOVE,ELECTRO,AMBIENT

RARE GROOVE
จังหวะต้นตำรับของเอซิดแจ๊ซซ์ เด่นชัดที่ดนตรีของเจมส์ บราวน์ และเสียงกลองในงานช่วงกลางยุค 70 ที่ผสมดนตรีแจ๊ซซ์เข้าไป ดนตรีจะสนุกสนานและเป็นแม่แบบให้หลายแนวดนตรีเต้นรำ
Classic Rare Groove : Maceo & The Macks, The Jackson Sister, Bobby Byrd, Gwen McCrae, Minnie Ripperton
ELECTRO
ดนตรีเต้นรำที่ใช้ส่วนผสมของจังหวะพั้งค์ ฮิพฮ็อพ และเสียงสังเคราะห์จากซินธิไซเซอร์มาสร้างเป็นจังหวะที่แปรเปลี่ยนคนให้เป็นหุ่นยนต์ เสียงบีทจะแข็ง แตกพร่า แล้วหล่อเป็นรูปออกมา เป็นซาวน์ดที่เกิดขึ้นเมื่อแร็พเพอร์ค้นพบเทคโนโลยี
นี่คือรากฐานของเทคโนโลยีเวลาต่อมา
Classic Electro : Afrika Bambaataa, Arthur Baker, Man Parrish, Mantronix, ESG, LiQuid, Cybotron
AMBIENT
ถือกำเนิดขึ้นในยุคที่นักดนตรีร็อคในทศวรรษที่ 70 ค้นพบเครื่องดนตรีสังเคราะห์ จึงใช้ซาวน์ดเหล่านี้สร้างสรรพเสียงที่ล่องลอย อ้อยอิ่ง หลอกหลอน โหยหวน เสมือนปลิวอยู่กลางอากาศ และระยิบระยับไปกับรายละเอียดของเสียงแปลก ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะตีวนไป ๆ มา ๆ
ศิลปินในยุคนี้รับอิทธิพลมาใช้ในการทำดนตรีเต้นรำสไตล์ผี ๆ
Classic Ambient : Brian Eno, Can, Bill Laswell, Penguin Orchesta, Terry Riley

29.8.52

HI-NRG&OLD SCHOOL HIP HOP&ACID JAZZ

หายไปหลายวันเลย ^^ กลับมาแล้วคับ ช่วงนี้งานยุ่งๆนิสนึง เลยอัพช้าหน่อยคับ ยังไงก็ขอขอบคุณผู้แปลบทความด้วยนะคับ เวปก็ใกล้จะเสร็จแล้วนะคับ อดใจรออีกนิสนะคับ ^^ สำหรับวันนี้กับ 3 แนวเพลงกันเลยนะคับ แนวเพลงที่กล่าวมาในบทความทั้งหมดนี้เป็นแนวเพลงที่ทางยุโรปเค้าตั้งชื่อให้นะคับ ส่วนอิธิพลของแนวเพลงต่างๆที่มีในปัจจุบันก็กลายพันธุ์ไปบ้าง เพี้ยนไปบ้าง ก็อย่าไปยึกติดดีกว่าคับ เปิดรับอะไรใหม่ๆดีกว่า อย่าไปแยกแยะ ตั้งข้อจำกัดให้กับเพลงเลย มีความสุขกับการฟังเสียงที่เรารัก เสียงที่เราชอบ ก็พอแล้วคับ ^^

HI-NRG
ดนตรีดิสโก้ฉบับปรับปรุง ส่วนใหญ่จะทำกันในยุโรป โดยเดิมเครื่องดนตรีไฟฟ้าสังเคราะห์เข้าไป แทนเสียงเครื่องสายและจังหวะพลิ้วสวยของดิสโก้ดั้งเดิม ดนตรีแนวนี้จะเจือความเป็นพ็อพไว้ค่อนข้างมาก
ศิลปินส่วนใหญ่มักดังไม่กี่เพลง แต่ถูกโพรดิวเซอร์ชักใยไว้เบื้องหลัง
โพรดิวเซอร์ตัวดีก็มีอย่างบ็อบบี้ย์ โอ จากนิวยอร์ค และ จอร์จีโอ โมโรเดอร์ ชาวอิเทลี เป็นต้น
Classic Hi-NRG : Miquel Brown, Jocelyn Brown, Evelyn Thomas, Kristine W, Waterfront Home
OLD SCHOOL HIP HOP
ตามตำนานบันทึกไว้ว่า ดนตรีฮิพฮ็อพอุบัติขึ้น จากการที่ดีเจชาวจาเมก้าในนิวยอร์ค คิดจะทำพาร์ตี้ย์ปิดถนนแบบในคิงสทันที่บ้านเกิด โดยใช้ระบบเสียงขนาดยักษ์
จากนั้นก็เปิดแผ่นเสียง มิกซ์ และสแครชแผ่น
ในขณะที่บรรดาพลพรรค (crew) ออกมาวาดลวดลายการเต้น ตามเสียงที่เกิดมาจากการนำจังหวะเพลงพั้งค์ในอดีตมาดีวนซ้ำไปซ้ำมา แล้วก็หยอดการแร็พ หรือการพูดสไตล์ MC ซึ่งรับอิทธิพลมาจากดนตรีเรกเก้
Classic old school : Grandmaster Flash
ACID JAZZ
ดนตรีที่ถูกตั้งชื่อเติมคำว่า Acid เข้าไป เพราะอิทธิพลของยาในยุคแรก ๆ
เอาเป็นว่านี่คือแจ๊ซซ์ที่เล่นโดยเด็กรุ่นใหม่ ภายใต้ฤทธิ์ยา
เกิดมาจากคลับของดีเจจิลล์ส เพ็ทเทอร์สัน ผสมผสานจังหวะฮิพฮ็อพ พั้งค์ และแจ๊ซซ์ แถมเข้าไปอีกก็มีจังหวะพอร์ดิสชั่นจากแอฟริกา และคิวบา
ฟังได้เป็นเพลง ๆ มากกว่าเป็นทั้งอัลบั้ม
Classic Acid Jazz : The Young Disciples, Brand New Heavies, James Taylor Quartet, Conduroy, Jamiroquai

23.8.52

Disco

ต้องขออภัยที่มาช้าไปซักหน่อยนะคับ ตอนนี้ website อย่างเป็นทางการของ Proud Groove ใกล้จะเสร็จแล้ว พอดีผมเอาเวลาไปจัดการเรื่องเว็ป และสำหรับวันนี้ผมจะมาให้ข้อมูลของแนวเพลงตามที่สัญญากันไว้นะคับ อันนี้ผมไม่ได้เป็นคนเขียนขึ้นเองนะคับ ตัวต้นฉบับใครเป็นคนเขียน อันนี้ผมไม่แน่ใจ แต่ผมขอขอบคุณผู้ที่เขียนต้นฉบับนี้ขึ้นมานะคับ ที่ให้ความกับเพื่อนๆ น้องๆที่รักเสียงเพลงกันทุกคน ของผมเองตอนนี้กะลังจัดการให้เป็นรูปเล่มอยู่ ต้องขอบคุณเพื่อนๆน้องทุกคนที่เข้ามาอ่านกัน ผมไม่หนี ไม่หายไปไหนคับ แต่กำลังเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างอยู่ ^^ อดใจรอกันซักหน่อยนะคับ ไม่เกินเดือนหน้าแน่นอนคับ สำหรับวันนี้เรามาทำความรู้จักกับแนวเพลงที่เรียกกันว่า Disco กันนะคับ

DISCO
นิวมิวสิคอย่างแท้จริง แนวดนตรีที่หล่อหลอมจากสัญลักษณ์มากมายของยุคสมัย นับจากรองเท้าส้นตึก ผมทรงอัฟโฟร ลูกบอลกระจกเหนือฟลอร์เต้นรำเรืองแสง ตัวดนตรีกำเนิดมาจากดนตรีฟั้งค์กระฉับกระเฉงจากยุค 70 แต่แทนที่จะเน้นตัวเพลงกลับไปเน้นการสร้างจังหวะจะโคนแทน
นี่คือดนตรีที่ออกแบบมาให้เต้น ตัวเพลงจึงยาวเหยียด
รูปแบบการเล่นเป็นซิงเกิ้ล 12 นิ้วจึงเริ่มขึ้น โดยเรียกกันว่า Maxi-Single ดิสโก้ได้รับความนิยมในหมู่คลับเกย์ เพราะว่าด้วยความสุขของการใช้ชีวิต ซึ่งพวกเกย์ต้องการหนีจากโลกของความเป็นจริง (ในยุคนั้นเกย์ไม่เป็นที่ยอมรับ) เพลงยังพูดถึงการเป็นตัวของตัวเอง และการเป็นพวกพ้องเดียวกัน ซึ่งตรงใจสาว ๆ เหล่านั้น
ความดังของดิสโก้ขยายออกมานอกดสโก้เธค จนค่ายเพลงทำเพลงพ็อพที่ใส่ส่วนผสมของดิสโก้เข้าไป ทำให้ดนตรีดิสโก้ออกมาเข้าอันดับเพลงด้วย ความดังของดิสโก้ทำให้คอร็อคไดโนเสาร์ออกมาต่อต้าน
แต่ดิสโก้ได้รับการตอบรับอย่างดีในยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศสกับอิเทลี
Classic Disco : Sister Sledge, Chic, Diana Ross, KC & The Sunshine Band, Musique, Donna Summer, Village People

14.8.52

ตอน รู้จักเพลง Part 3 (Verse หรือ บท)

เอาล่ะคับสำหรับวันนี้ มาดูกันว่าเพลง 1 บท เป็นยังไง
Photobucket
ทีนี้เราก็ทราบกันแล้วนะคับว่าเพลงๆนี้มีบทเพลงที่เล่าเรื่องว่า หนูมาลี มีลูกแมว 2 ตัว ชื่อเจ้าเขียวกับชื่อเจ้าก้อน ชอบเดินตามหนูมาลี เพราะหนูมาลีมีปลาซาร์ดีน แล้วลูกแมวก็เดินตามหนูมาลีเพราะอยากกินปลาซาร์ดีน ^^ เพื่อนพอจะทราบคร่าวๆแล้วนะคับว่า เนื้อหาของเพลงนี้ เค้าพูดถึงอะไร ในเพลงนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง ทีนี้เพื่อนก็สามารถเข้าใจเพลงได้มากขึ้น รู้จังหวะของเพลงอห้องเพลง และรายละเอียดเพลงกันแล้ว สำหรับคราวหน้า ผมจะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับเพลง Electronic ในแขนงต่างๆให้ฟังกันนะคับ ว่าเพลงตื๊ดๆที่เพื่อนๆฟังกันนั้น เค้าเรียกว่าอะไรกันบ้าง มีความเป็นมายังไง แนวไหนเป็นแนวไหน กันนะคับ

10.8.52

ตอน รู้จักเพลง Part 2 (Bar)

เอาล่ะคับสำหรับวันนี้เรามาต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว กับเรื่องของส่วนประกอบของเพลงกันนะคับ สำหรับตอนนี้เราก็เห็นแล้วว่า Bar หรือ ท่อนเพลงของเพลงๆนี้ มี หนูมาลีมี เป็น Bar แรกของเพลงต่อมาเรามาทำความรู้จักกับวลี (Phrase) ของเพลงกันนะคับ ซึ่งวลีก็เปรียบเหมือนประโยคที่สมบูณ์ มีความหมาย มีการตอบรับ มาดูกันนะคับ



Photobucket




คราวเราก็ทราบกันแล้วนะคับว่า 1 วลี เป็นยังไงบ้าง เด๋วตอนต่อไปเรามาดูกันนะคับว่า เพลง 1 บท เป็นยังไงนะคับ

8.8.52

พรุ่งนี้แล้วนะคับ ^^

กับงาน Introduce ''How To Be Real DJ'' แล้วเจอกันนะคับ ถ้าเพื่อนๆคนไหนมาไม่ถูกก็โทรมาถามได้นะคับ สำหรับบทความตอนต่อไป คืนพรุ่งนี้ผมจะเอามาลงให้นะคับ กับตอน รู้จักเพลง Part2

6.8.52

อัพเดตแผนที่คับ

images by uppicweb.com
ถนนลาดพร้าววังหิน ซอย 36 เยื้องๆปั๊ม ปิโตรนัส สาขาวังหิน นะคับ


ผมลงแผนที่ไว้ให้แล้วนะคับ สำหรับเพื่อนๆที่จะมา introduction ''How To Be A Real DJ'' By ~*Akara*~ ในวันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม ที่จะถึงนี้คับ ตอนนี้ก็มีเพื่อนๆ หลายๆคนได้ confirm ไว้แล้ว ในงานนี้
ตอนนี้พี่ๆ DJ มากประสบการณ์อีกหลายคนมาให้คำแนะ เกี่ยวกับการทำงานในสายอาชีพ Club DJ คับ
แล้วพบกันนะคัพ ^^

ตอนที่ 4 รู้จักเพลง Part 1 ^^

สวัสดีคับเพื่อนๆ น้องที่รักเสียงเพลงทุกคน สำหรับวันนี้ เรามาทำความรู้จักเพลงที่เราฟังอยู่เป็นประจำให้สนุกมากขึ้นนะคัพ

กับการรู้จักเพลง ถือเป็นสิ่งที่ดีสำหรับคนที่ชอบฟังเพลงทุกคน และเป็นพื้นฐานสำคัยสำหรับ DJ และศิลปินทุกคน
ผมจะพูดถึงการเข้าถึงเพลง เพื่อการฟังเพลงที่ตัวเองอย่างมีความสุขมากขึ้น รู้ว่าเพลงๆนี้เหมาะกับเวลาไหน สำหรับ DJ แล้ว
การเปิดเพลงให้กับผู้ที่กำลังฟังเราอยู่ แล้วเค้ามีความสุขกับเพลงที่ DJ มอบให้ ผมขอเรียกสิ่งนี้ว่า DJ Heart ^^

คราวนี้เรามารู้จักเพลงกันนะคับ เรามาเริ่มต้นกันที่โครงสร้างของเพลงกันนะคับ ถ้าสมมุติว่าเพลงหนึ่งเพลง เป็นบ้าน 1 หลัง
ก่อนที่จะมาเป็นบ้านได้นั้น มันก็เริ่มตั้งแต่เขียนแปลน ตอกเสา ก่ออิฐ เทพื้น ทำหลังคา ทาสี และอื่นๆอีกมากมาย เพลงก็เช่นกันคัพ
สำหรับเพลงแล้วสิ่งที่เป็นโครงสร้างสำคัญ เปรียบเหมือนแปลนบ้าน และ เสาหลักของบ้าน นั้น ริทึ่ม (Rhythm) ซึ่งโดยหลักๆของ
ริทึ่ม (Rhythm) เพลงทั่วๆไปบนโลกใบนี้ นั้นก็คือเสียงของกลอง (Drum) กับ เสียงของ เบส (Bass) คัพ ^^ โดยทั้งสองเสียงนี้
จะกำหนดจังหวะหลักๆของเพลงๆนั้น โดยมาตฐานดนตรีสากลบนโลก ได้แบ่งกลุ่มการจัดเรียงสัดส่วนของเพลงไว้ดังนี้คัพ


4 Beat (การเคาะ 4 ครั้ง) = 1 Bar (1 ท่อนเพลง)
4 Bar (4 ท่อนเพลง) = 1 Phrase (4 วลี)
4 Phrase (4 วลี) = 1 Veres (1 บท)


คราวนี้เรามาดูตัวอย่างเพื่อความเข้าใจเพลงกันให้มากยิ่งขึ้นนะคับ ผมจะยกตัวอย่างเพลงๆนึงให้ดูนะคับ

เริ่มต้นโครงสร้างของเพลงกับบีทที่เราเคยนับกันไว้เมื่อคราวที่แล้วนะคับ

เนื้อร้อง/เมโลดี้ - เสียงที่กำหนดจังหวะเป็นเสียง - เราก็จะนับเป็นบีทที่
หนู - Kick Drum - 1
มา - Bass - 2
ลี - Kick Drum - 3
มี - Bass - 4

พอจะนึกกันออกไหมคับ ถ้ายังไงเราก็ลองเปิดเพลงฟัง แล้วสังเกตดูนะคับ ไม่ยาก สำหรับตอนต่อไป เด๋วผมจะมาอธิบายเกี่ยวกับ
Bar (ท่อนเพลง) นะคับ

3.8.52

การ Mix เพลงเบื้องต้น : ตอนที่ 3. Pitch

ในการ Mix เพลงนั้น สิ่งที่จะต้องเรียนรู้เป็นอันดับต่อมาก็คือ Pitch

Pitch คืออะไร แล้วอะไรคือ Pitch

Pitch คือ ระดับความเร็วของเพลง....
ในการ Mix เพลงนั้น เพลงแต่ละเพลงจะมีความเร็วไม่เท่ากัน
การปรับ Pitch จึงอาจเปรียบได้คล้ายๆ กับการเตะคันเร่งของรถ

ในการ Mix เพลงให้ ความเร็ว หรือ BPM เท่ากัน
ก็เหมือนกับการขับรถให้ความเร็วเท่ากัน และขับขนานกันไป

สมมุติว่า ให้เพลงเป็นรถ





ถ้าเราต้องการให้รถคันล่าง ขันขนานไปกับคันบน เราก็ต้องให้คันล่างเร่งความเร็วเพิ่มขึ้น
นั่นคือการเพิ่ม Pitch ให้กับเพลง (หรือเพิ่มความเร็วให้กับรถคันล่าง) เพื่อให้ความเร็วเท่ากับอีกเพลง
เมื่อรถทั้ง 2 คันขับขนานกันได้แล้ว จะได้ผลลัพธ์ ที่เรียกว่า Beat Matching
หรือเรียกง่ายๆ ว่า จังหวะของเพลงที่เท่าเทียมกัน

คราวหน้า เราจะได้มารู้ว่า สิ่งที่อยู่กับเรามาตั้งแต่เกิดนั้น มีประโยชน์มากแค่ไหนครับ

2.8.52

แจ้งข่าวเพื่อนๆ ทุกคนคัพ Introduction

ในวันอาทิตย์ที่ 9 สิงหานี้ ผมจัด introduction แนะนำเกี่ยวกับการเป็น DJ (How To Be A Real DJ By ~*Akara*~)
ซึ่งให้คำแนะนำในเรื่องของ DJ, การฟังเพลง, เรียนรู้แนวเพลงต่างๆ, เทคโนโลยี่ DJ ในอนาคต, ความสัมพันธ์ของ Dj กับคอมพิวเตอร์, แนะนำการใช้โปรแกรมในงาน DJ และพร้อมด้วยบรรรยากาศปาร์ตี้เล็กๆ เป็นมิ๊ตติ้งเล็กๆ คับ สนุกๆ เป็นกันเอง

ทั้งหมดนี้ จัดที่บ้านผมเอง ^^
ก็จะมีเพื่อนๆ DJ มาร่วมแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับ DJ, แนวเพลง และอื่นๆ อีกมากมาย คัพ

งานเริ่ม 3-4 โมงเย็น จนถึงราวๆ 6 โมงเย็นนะคับ ^^
เพื่อนคนไหนสนใจก็มาได้เลยคับ ลงชื่อเอาไว้ก่อน หรือโทรมาหาผมก็ได้ครับ
ในงาน ไม่เก็บค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น คัพ ^^
ถือว่าเป็นการแนะนำกัน แบ่งปันกันดีกว่า

ส่วนสถานที่จัด และแผนที่อยู่ข้างล่างนะคับ


ถนนลาดพร้าววังหิน ซอย 36 เยื้องๆปั๊ม ปิโตรนัส สาขาวังหิน นะคับ

จะอยู่แถวลาดพร้าวคับ เข้าได้ทั้งทาง โชคชัย4 , ลาดพร้าว 71 , ม.จันเกษม ได้คัพ อยู่แถวๆ นั้นอ่ะคับ
ถ้ายังไงเพื่อความสะดวกที่ผมจะดูแลให้ได้ รบกวนโทรมาบอกก่อนก็ดีนะคับ ว่าเอาน้ำส้มหรือน้ำเขียว ^^ คับ
ส่วนนี้เบอร์ติดต่อผมนะคับ 089 539 4104

และเร็วๆ นี้เราจะมีปาร์ตี้ฟังเพลงนะครับ คอยติดตามได้ที่ Proud Groove Academy คร้บ

1.8.52

การ Mix เพลงเบื้องต้น : ตอนที่ 2. วิธีการคำนวน Beat

ตอนที่สอง ด่านสิบแปดอรหันต์ทองคำวัดเส้าหลิน

เริ่มต้นจาก

ให้เสียงกระเดื่องดัง 120 ครั้งต่อ นาที
[120 BPM (Beat Per Minute)]

ถ้าเราต้องการคำนวน Beat แบบง่ายๆ สามารถนับได้ตามสูตรนี้

จำนวนบีทใน 30 วินาที X 2 = BPM

ตัวอย่างเช่น
เราเริ่มเปิดเพลงขึ้นมาฟัง เสียงจังหวะแรก สมมุติว่าเป็นเสียงกระเดื่อง ก็ให้นับเป็นบีทที่ 1 และนับต่อไปเรื่อยๆ
จนครบ 30 วินาที ถ้าหากนับได้ 60 ครั้ง ก็ให้เอามาคูณ 2 ก็จะได้เท่ากับ 120

เลข 120 นี่ละคร้บ คือ BPM ซึ่งเป็นความเร็วของเพลง

ถ้าหากว่าเราไม่ทราบมาก่อนว่าเพลงที่เราฟังอยู่ ความเร็วเท่าไหร่
การคำนวนบีทจะช่วยให้เราทราบได้ทันที สิ่งนี้มีประโยชน์มากนะครับ

สิ่งสำคัญสำหรับการนับ Beat เพลงที่ดี เสียงการให้จังหวะเสียงแรกดังขึ้น แล้วเริ่มนับต่อไปเรื่อยๆ จนครบนาที
จะทำให้เราทราบถึงความเร็วของเพลง หรือ BPM อย่างละเอียดได้ครับ

"ตอนหน้า เรามาสนุกกับการรู้จักกับการเปลี่ยนความเร็วของเพลง (Pitch) กันนะครับ"

30.7.52

การ Mix เพลงเบื้องต้น : ตอนที่ 1. Beat

ก่อนอื่น เรามารู้จักกับ Beat ซึ่งเป็นพื้นฐานของเพลงกันเลยดีกว่าครับ

Beat คือคำเรียกของการนับจังหวะตามมาตรฐานสากล
ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สิ่งแรกๆ ที่ DJ ทุกคนจะต้องศึกษา
พูดง่ายๆ ก็คือ Beat คือหัวใจหลักของดนตรีทุกชนิดในโลก


อย่างนั้นเรามารู้จักการนับ Beat กันก่อนครับ

การกำหนดจังหวะของ Beat คือ การให้จังหวะของเสียงเครื่องดนตรี
ซึ่งมักเป็นเครื่องดนตรีประเภทที่ให้จังหวะเป็นหลัก
จะให้จังหวะ เีรียกว่า Rhythm (ริ-ทึ่ม) ของเพลง
เช่น กลอง หรือเบส (หรืออื่นๆ)
โดยทั่วไปแล้ว มักจะเป็นเสียงกลองกระเดื่อง กับกลองสแนร์ที่กำหนดจังหวะ ครับ
แต่ก็มีบ้างที่เราอาจจะได้พบกับเสียงอื่นๆ ขึ้นอยู่กับความสร้างสรรค์ของผู้ประพันธ์เพลงนั้นๆ


เรามารุ้จักกับการนับ Beat แบบคร่าวๆ กันเลยดีกว่าครับ





มาตรฐานของการนับ Beat สากล จะนับเป็นหน่วย BPM (Beat per Minute หรือ จังหวะ ต่อ นาที)
ซึ่งจะเป็นการกำหนดความเร็วของเพลงด้วยครับ

และการที่เรารู้ว่าเพลงที่เราฟังอยู่นั้นมีความเร็วเท่าไหร่
จะทำให้เราสามารถเล่นดนตรี และเข้าใจดนตรีทุกประเภทได้
โดยเฉพาะในด้านการเปิดเพลง หรือ DJing จะทำให้เราสามารถต่อเพลงได้ครับ

คราวหน้า เราจะมารู้จักวิธีการคำนวน Beat กันครับ

29.7.52

ต้องขออภัยที่ไม่ได้รับความสะดวกคับ ^^

ต้องขออภัยด้วยนะคับสำหรับผู้ที่ต้องการติดต่อเรียน DJ ในรอบวันที่ 10 สิงหา เนื่องจากขณะนี้น้องที่มาเรียนยังอยากเรียนอยู่ จึงทำให้ผมสอนน้องๆที่มาเรียนรอบสิงหาได้เพียง 3 คนเท่านั้น (ผมสอนได้เดือนล่ะ 5 คนเองคับ สอนนานดีจิงๆ) ดังนั้นผมจึงจะแจ้งกับคนที่เคยโทรมาถามแล้วผมตอบว่าให้รอเดือนต่อไป สามารถติดต่อจองเรียนได้แล้วนะคับ เพราะผมออกไปรับสอนนอกสถานที่ได้แล้วคับ ^^ สามารถติดต่อและนัดสอน ทฤษฐี ตามห้างได้แล้ว ^^ เด๋วจะถ่ายรูปมาโพสไว้นะคับ แล้วอีกไม่นานคับ สำหรับน้องๆที่อยู่ต่างจังหวัด มีข่าวดีคัพ
แล้วจะมาแจ้งอีกทีนะคัพ




ิ ขอบคุณที่ท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมเวปคับ
~*Akara*~

25.7.52

สอน DJ Mixing Course



ในคอร์สนี้ สอนทักษะ DJ ตั้งแต่เริ่มต้น จากพื้นฐานจนถึงระดับมืออาชีพ เพื่อเน้นการใช้งานได้จริง เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานหรือมีพื้นฐานมาบ้างเล็กน้อย
การเรียนการสอนประกอบด้วย


-เรียนปฏิบัติด้วยเครื่องเล่น DJ เซ็ตมาตฐานที่ใช้ในคลับ CDJ 800 และ Mixer DJM 600 รวม 10 ชั่วโมง







-เรียนทฤษฏีกับโปรแกรมจำลอง DJING ยอดเยี่ยมของปี 2008 " Tracktor Pro "10 ชั่วโมง ด้วย Computer และ Midi Controller







-แนะนำการเซ็ต DJ System ของตัวเองในแบบประหยัด เริ่มต้น *7000 บาท คุณก็สามารถมีเครื่องเล่นส่วนตัวได้
*ราคาของ Controller และ Sound card
*สอนแบบรายบุคคล 4 ชั่วโมงต่อวัน *


เวลารวมในการสอน 20 ชั่งโมง คอร์สล่ะ 4000.- ต่อคน






รับประกันการสอนและสามารถนำไปใช้ได้จริง
(เปิดคอร์ส ประจำเดือนสิงหาคม รอบต่อไป 10 สิงหาคม 2552 )
*ระยะเวลาการสอนต่อวัน แยกเป็นกรณีไป *


ติดต่อ
E-mail : Akara.dj@live.com
msn : DJ.T.BKK@HOTMAIL.COM
โทร : 089-539-4104

How To Be A Real Dj




How To Be A Real Dj By " Akara "





* DJ คืออะไร *

DJ ย่อมาจาก Disc Jockey แปลว่า คนควบคุมแผ่นหรือเพลง โดยทั่วไปแล้ว DJ ในความคิดของคนทั่วไปที่

เจอบ่อยๆ หมายถึงคนที่ใส่หูฟัง แล้วทำมือถูกๆ อะไรบางอย่าง หรือ ไม่ก็ คนพูดในวิทยุ เสียงหล่อๆ ในโลก

สากล DJ เป็นศิลปินแขนงหนึ่ง จะเน้นไปทางด้านดนตรีเต้นรำ ที่มีพื้นฐานมาจากดิสโก้ และถูกนำมาประยุค

ขึ้นมาใหม่หรือบ้านๆก็เรียกว่า Electronic Dance Music

Club



Zouk Singapore
* Velvet Room ห้องนี้เป็นห้องจัดปาร์ตี้ขนาดกลาง แต่เปิดบ่อยที่สุด ส่วน DJ ที่มาเปิดนั้นก็จะมีทั้ง
มีชื่อเสียงมากกับมีแต่ไม่มาก ^^ แนวเพลงก็แทบจะทุกแนว แต่จะเน้นไปทางดนตรีเต้นรำ เช่น
Soulful,Jazzy,Barzitian,Afro-Funk จนไปถึง Deep Techno

* Phuture ห้องนี้จะเน้น Hip-Hop R&B และตลาดทั่วไป รวมถึง Drum&Bass,Break Beat,Nu-
Jazz,Down Tempo ฯลฯ
* Wine Bar เป็นโซนพักผ่อน เพลงเป็นแนว Chill Out ห้องนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นที่สำหรับพักผ่อนโดยเฉพาะ
* Zouk เป็นส่วนของ Main Hall หลักมักจะเปิดเฉพาะ วันศุกร์และวันเสาร์ โดยงานมักจะเป็นในลักษณะ
ของคอนเสริต์ DJ ที่มาเล่นหรือแสดง มักจะเป็นดีเจมีชื่อ ส่วนตัวงานที่จัดขึ้นอยู่กับศิลปินหรือ DJ หรือเอา
จนซี๊ ( คนจัดงานหรือนายหน้า) เป็นคนออกแบบงานยกตัวอย่างเช่น
*Tiesto จัดเป็นคอนเสริต์ มักจะมี DJ ส่วนตัว วอมม์ให้ ยกอุปกรณ์มาเองขายบัตรโดยการแบ่งเปอร์เซ็นต์ กับที่ร้าน (อ่านรายละเอียดการทำงานได้ที่หมวด Party DJ )
*Zouk In เป็นงานที่ทางร้านจัดขึ้นเอง โดยจะเลือก DJ ที่มีชื่อ จากการโหวต เก็บบัตรเอง จ้าง DJ มาเล่น
แบ่งเป็นเซ็ต งานประเภทนี้มักจะจัดระยะยาว กินเวลา 2-3 วัน
อย่างร้านทั่วๆไปที่พบเห็นได้แถว รัชดา ร้านจะเป็นผู้กำหนดชะตา DJ ^^ และแนวเพลง บางที่มีการ
แบ่งโซนคล้ายๆกับ Zouk แต่มาตฐานจะต่างกัน แนวเพลงมักจะเป็นไปตามกระแส โดยกระแสหลักๆ
แยกได้ดังนี้
Trance - เช่น Lether Industry-Tiesto Sandstom - Davude
House - เช่น Sound of Sanfrancisco - Global DJ Cream
Hip Hop - เช่น In Da Club
Retro - เช่น Masha, Tina
ตามกระแส - เช่น Nobody But You - Wondergirl
Club บนโลกใบนี้ทั้งหมด จะแบ่งแนวเพลงชัดๆได้ 2 ประเภท แต่แตกต่างที่มาตฐานคือ ตามใจดีเจ หรือ
ตามใจนายจ้าง

Club Dj


Armin Van Buuren - DJ,Producer

Club ในที่นี้หมายถึง สถานบันเทิงในรูปแบบต่างๆเช่น Bars ,Lounge,Disco ฯลฯ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ Club มักจะเป็นฝ่ายกำหนดแนวเพลงหรือ แนวทางของสถานประกอบการในแต่ละกรณีไป สถานประกอบการและ DJ ที่ดีนั้นควรจะมีมุมมองและความคิดเห็นในทางเดียวกัน เนื่องจากหน้าที่ของ DJ ในคลับนั้นคือ คนกำหนดจังหวะของคนในร้าน ซึ่งถ้าหากผู้ประกอบการไม่ลงรอยกับ DJ เป็นเรื่องยากที่จะทำให้สถานประกอบการนั้นไม่สามารถอยู่รอดได้


DJ เข้าไปทำอะไรที่ Club
Club เป็นทั้งบ้าน แหล่งเงิน ลานแสดงศิลปะ และอื่นๆอีกมากมาย ตามแต่ที่ DJ จะใส่มัน
ลงไปแต่โดยหน้าที่หลักๆแล้ว DJ ในคลับมีหน้าที่ควบคุมคนในคลับและนอกคลับ ^^ ให้ความบันเทิงทาง
เสียงเพลง ซึ่ง DJ ที่ดีควรมีสติที่ต้องเอาใจใส่กับรายละเอียดหลายๆอย่างในช่วงเวลาที่เปิดแผ่นเช่น การ
สังเกตผู้คนที่กำลังเต้นบน Floor ว่ามีปฏิกิริยาอย่างไร Sound เป็นอย่างไร รวมถึงเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆว่า
มีความสมบูรณ์หรือไม่ อ่อ ต้องคอยสังเกตเจ้าของสถานที่ด้วยนะครับ

DJ ใน Club แบ่งได้ดังนี้

DJ ที่ได้เล่นเพลงที่ตัวเองกำหนดหรืออยากที่จะเล่น

DJ ที่เล่นเพลงตามงานที่ระบุไว้


Club DJ

Radio DJ

Radio DJ ในที่นี้หมายถึง DJ ที่ทำงานให้กับสถานณีวิทยุหรือสื่อที่สามารถออกอากาศได้เช่น ใน Web วิทยุ
ส่วนตัว Camfox ปล่อยเซ็ต( Mixed )ให้โหลด ตามวิทยุ (Radio Online) ซึ่งสื่อในที่นี้สามารถ สร้าง เปลี่ยนแปลงกระแส
ให้กับผู้รับได้ทั้งในทางที่ดีและไม่ดี
Radio DJ มีทั้ง DJ ที่เน้นการพูดคุย เล่าเรื่องราว มีการเปิดเพลงบ้าง มากน้อยแตกต่างกันไป มีการให้ผู้ฟังได้
ร่วมสนุก ระบายหรือสร้างความสุขทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของรายการ (ครีเอทีฟและคอนเซ็ป) ยกตัวอย่างเช่น

1. Armin Van Buren เปิดเพลงในช่วงรายการ Radio1ชื่อ Radio Essentel ช่อง BBC 1 eng.
2. ดีเจ กริช เปิดเพลง ป๊อป ที่คลื่น Hot wave เป็นต้น

DJ Equipment


เรื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในชีวิตดีเจ จำเป็นต้องเจอในชีวิต ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยี
แต่ยังคงหลักการ การทำงานอย่างเป็นมาตรฐาน โดยแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้
Player ในที่นี้หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้เป็นต้นกำเนิดเสียง โดยหลักๆที่ใช้กันในปัจจุบันนี้ได้แก่

1.Turntable หรือเครื่องเล่นแผ่นเสียง ใช้แผ่นเสียง ( Vinyl ) ในการให้ข้อมูลเสียงผ่านหัวเข็มออก
มาเป็นสัญญาณ Analog โดยทั่วไปมักใช้แผ่นเสียงขนาด 12"นิ้วเป็นมาตรฐาน ฟังชั่นหลักๆโดยทั่วไปจะมี
เพียงปุ่ม Play ,Stop,Pitch และอื่นๆขึ้นอยู่กับยี่ห้อและออฟชั่นที่ใส่เข้าไป

2.CDJ เป็นเครื่องเล่น CD ใช้ CD เป็นต้นทางของเสียง มี 2 ลักษณะ คือ 19"นิ้ว Rack แบบนี้เรียกว่า
Duel Deck ยกตัวอย่างเช่น Pioneer CMX-3000 Denon 2500 F มีฟังชั่นการทำงานและหน้าตาแตกต่าง
กันบ้าง ขึ้นอยู่กับออฟชั่นเสริม
แบบ Single Deck ใช้ CD เหมือนตัวก่อนหน้า เพียงแต่หน้าตาและรูปลักษณ์จะจำลองจาก Turntable
CDJ แบบนี้มีฟังชั่นการทำงานเพิ่มเติมนอกเหนือจากฟังชั่นในการเล่นเพลง ( Play,Stop,Cue,Pitch Band )
เช่น Loop,Effect ต่างๆ

3. Computer และ Controller ในประเภทนี้จะใช้คอมพิวเตอร์หรือ คอนโทรเลอร์ จะใช้ไฟล์เพลงใน
รูปแบบ Mp3 เป็นส่วนใหญ่แล้วใช้คอมพิวเตอร์เปิดโปรแกรมที่ทำไว้ใช้งานของดีเจ ในหมวดนี้มีฟังชั่นการ
ทำงานที่หลากหลายและสามารถชี้เป็นชี้ตายได้ เนื่องจากไม่ได้ศึกษาคู่มือการใช้อย่างถูกวิธี

Turn Table

Technics 1210 Turntable



Numark CDX Premium Direct Drive CD Turntable
ปัจจุบัน Turn Teble ได้พัฒนาขึ้นในรูปคือ แบบที่สามารถเล่น CD ได้


Player ประเภท CDJ


Dual Deck

Pioneer CDJ MEP-7000




Single Deck





PIONEER CDJ 1000 MK3


DENON CDJ DNS-3700








Player ประเภท Controller


Vestex VCI 100 DJ Controller With Macbook





DJ Controller ในยุคปัจุบัน



DJ System


DENON DJ SYSTEM

Mixer





Pioneer DJ Mixer DJM 800

Mixer ไม่ใช้ โซดา + โค้ก Mix แปลว่าการ ผสม Mixer แปลว่า ตัวผสม หรือเครื่องผสม ในที่นี้คืออุปกรณ์ที่มีหลักการทำงานเป็นมาตรฐานได้แก่
Knob - ลักษณะเป็นลูกบิด ปุ่มพวกนี้มักใช้คุมฟังชั่นการทำงานเกี่ยวกับการเพิ่มหรือลดระดับเสียง ระยะ / Timing ของ Effect


Slide - ลักษณะเป็นการตั้งระดับของการเปิด ปิด ในการควบคุมฟังชั่น เช่น Crossfader,Slide Volume






Push Button ปุ่มลักษณะนี้เป็นแบบกด ให้เปิด-ปิด เช่น Loop In / Loop out Effect On / Off

DJ Head Phone



Pioneer DJ Headphone HDJ 2000


Head Phone Head Phone โดยทั่วไปจะมีค่าสเป็คการใช้งานระบุไว้อย่างชัดเจน หลักๆจะมีค่าความถี่เสียงที่ขับออกมา ต่ำสุด - สูงสุด ค่าความดัง กำลังขับเสียงของลำโพง ความยาวของสายอย่างชัดเจน หูฟังที่ดีและเหมาะสมกับดีเจ ควรอยู่ในแบบ Close Cup คือปิดทั้งหู เนื่องจากการมิกซ์เพลงให้ได้เสียงและแยกเสียงได้ชัดเจน การเลือกหูฟังที่ดีควรเลือกอันที่เหมาะสมกับผู้ใช้เองจะดีที่สุด ^^


Technics RP-DH 1200

Microphone


Microphone ไมโครโฟน เป็นอีกสิ่งหนึ่ง ที่ DJ เอาไว้ใช้ส่งเสียง ต่างๆ เช่นคำโฆษณา,คำถาม-ตอบ,ประโยคพูดคุย หรือใช้ประยุกช์ ใช้ได้อีกหลากหลาย ไมโครโฟนทั่วไปมี 2 แบบ คือ Dynamic Microphone คือไมค์ที่สามาตอบรับความดังของเสียงได้มาก แต่ไม่ละเอียด และอีกประเภท คือไมค์แบบ
Condenser ไมค์ประเภทนี้ถูกสร้างมาให้ตอบรับเสียงได้ดีเป็นพิเศษ DJ ที่พูดไมค์ ควรรู้จักเสียงตัวเอง ว่า สูง หรือ ต่ำ ควรรู้ทักษะการพูด จะเป็นประโยชน์ ถ้าคุณพูดอะไร ก็ออกมาน่าฟัง


Shure SM58 dynamic microphone


Sure KSM27 Condenser Microphone

Amplifier and Speaker


ภาคขยาย ในที่นี้คือ เครื่องที่สามารถเปลี่ยนกระแสไฟฟ้า ออกมาเป็นเสียงได้ โดยผ่านสัญญาณเสียงของเครื่องเล่น หลักๆได้แก่

Amplifier คือ เครื่องขยายเสียง จะมีบอกขนาดของกำลังขับไว้ แล้วแต่รุ่นและสเป็ค ถ้าของจีนอาจจะแปะกำลังขับเวอร์หน่อย

Speaker หรือ ลำโพง หลักๆจะแยกระหว่าง กลาง-แหลม Mid-High กับเสียงต่ำ Bass ลำโพงที่ดีควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับ Amplifier



Crown Power Amplifier




Club Speaker Mid-High





DAP CLUB SUBWOOFER

Mixing




Mixing ในที่นี้คือ หมายถึงทักษะการผสมเพลง เป็นหัวใจหลักของงาน DJ ที่ต้องเปิดเพลงกำหนดจังหวะในการเต้น ทักษะในการมิกซ์เพลงที่ดีมีดังนี้

3.1 รู้จักเพลง DJ ทุกคนควรจะมีความรู้เพลง มากกว่าบุคคลธรรมดา รวมไปถึงความชอบส่วนตัว เพลงโดยทั่วไปที่ DJ ในสาย Club DJ มักเป็นเพลงให้จังหวะ ให้บรรยากาศที่สนุก ซึ่งแต่ล่ะแนวเพลง ก็มีสไตล์ที่แตกต่างกันออกไป ในการรู้จักเพลงที่ดีนั้น ควรศึกษาหาเพลงฟังให้เยอะๆ หลายๆแนวเข้าไว้ เพราะ DJ คือผู้นำเสนอ ดังนั้นควรหาสิ่งที่ดีมานำเสนอ

3.2 รู้แนวทาง DJ ที่ดีมักอยู่ถูกที่ถูกเวลา เพลงที่เปิดก็ถูกที่ถูกเวลา แนวเพลงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องศึกษา เนื่องจากจากแหล่งเพลงไม่ได้กำหนดไว้ ตายตัว ขึ้นอยู่กับความเข้าใจ และการตีความของแต่ล่ะบุคคล แต่จะมีมาตฐานสากล ในการแบ่งแนวไว้ชัดเจน ซึ่ง DJ ที่ดีควรศึกษาแนวทางให้เหมาะสมกับตัวเอง

3.3 รู้จังหวะ ในที่นี้คือพื้นฐานของการต่อเพลง โดยทั่วไปการต่อเพลง จะเป็นแบบมาตฐาน คือเรียงเพลงไว้ จาก 1-2-3-4 ไปเรื่อยๆ ตามที่เราเลือกไว้ การต่อเพลงเป็นการเปลี่ยนจังหวะและความรู้สึกของคนฟัง และตัวคนเปิดเอง ว่าต้องการให้เกิดความรู้สึกแบบไหน ยกตัวอย่างเช่น

เพลงสนุก - เพลงสนุก - เพลงสนุก - เพลงผ่อนคลาย - เพลงสนุก

ซึ่งการ Mixing ที่ดีควรคำนึงถึงความลื่นไหลของเพลง จังหวะ เนื้อหา ซึ่งแต่ล่ะแนวเพลงก็จะมีเอกลักษณ์ของการ Mixing ที่แตกต่างกัน

3.4 จินตนาการ โดยธรรมชาติของคนที่รักเสียงเพลง มักจะมีจินตนาการ กว่าคนที่ไม่ชอบฟังเพลง DJ ที่ดีก็ควรจะมีจิตนาการที่มากกว่าคนฟังเพลง DJ ที่ฝึกฝน จนชำนาญ และมีประสบการณ์ สามารถเปิดเพลงให้เข้าถึงความรู้สึกคนฟัง ควบคุมอารมณ์ และความรู้สึกของคนฟังได้

3.5 การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การทำงาน ไม่ว่าสิ่งใดก็ตาม สามารถเกิดปัญหาได้ ในโลกของ DJ ก็มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็น เครื่องไม้เครื่องมือ สภาพแวดล้อมขณะที่ทำการแสดง คนฟัง ถ้าออกไปเปิดเพลงตามคลับ ก็จะเจอทั้ง ลูกค้า เจ้าของ เพื่อนร่วมงาน หรือถ้าเป็นปาร์ตี้ส่วนตัว การเปิดเพลงให้เพื่อน
สนุก เป็นสิ่งที่ดีกว่าการเปิดเพลงให้เพื่อนเบื่อ แล้วแต่กรณีไป ^^

DJ ที่ดีควรมองสถานการณ์ล่วงหน้าว่าเพลงที่จะเปิดต่อไปจะมีผลยังไงกับสภาพแวดล้อมนั้น ขึ้นอยู่กะ จิตนการของ DJ แต่ล่ะคน


Grow Up

Grow Up การพัตนา
4.1 เวลาไม่คอยเรา DJ ที่ดีควรเอาใจใส่กับการติดตามเพลงใหม่ๆ การเลือกเพลงที่เหมาะสมมาเปิด ในฐานะผู้นำเสนอที่ดี เพราะ
เพลงใหม่ๆมีออกมาทุกวัน อันนี้ขึ้นอยู่กับแนวทางของแต่ล่ะบุคคล บางคนอาจชอบเพลงเก่า ก็ควรจะศึกษาเรื่องเพลงเก่าไปเลย แต่ยังไงก็ควรฟังไว้เยอะๆคับ
4.2 พัตนาฝีมือ ไม่มีใครเก่งมาตั้งแต่เกิด DJ ก็เช่นกัน DJ ที่ดีควรฝึกฝนตัวเองอยู่ตลอดเวลา ทั้งเรื่องการฟัง ทักษะการมิกซ์ ลองฟังและศึกษาเซ็ตที่ DJ คนอื่นเปิดบ้าง แต่ไม่แนะนำไม่ควร copy นะคับ เลือกในสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเองดีกว่าคับ ^^
4.3 เตรียมตัวให้พร้อม DJ ที่ดีควรพร้อมเสมอ ^^ ถ้าเป็น DJ ที่ออกมาเล่นตามคลับ แต่ถ้าเป็นกลุ่ม Home Made ก็ไม่ต้องซีเรียส
ก็ได้แต่ควรศึกษาไว้ก็ดี เช่น การทำ DEMO,การทำ Profile ของตัวเอง เป็นสิ่งที่ดีสำหรับการออกไปหางาน

Real DJ


DJ เป็นสิ่งมีชีวิต ที่มีตัวตน เป็นคนของสังคม อยู่สถานะผู้ให้ความสุข ให้เสียงเพลง การเลือกแนวทางชีวิตในเส้นทาง DJ ของตัวเราเอง ควรเป็นสิ่งที่ต้องคิดแรกๆ ว่าจะ เป็น/อยู่/คือ อย่างไร แบบไหน ไม่ว่าจะเป็น DJ ใน Club , DJ ในบ้าน เปิดเพลงให้คนอื่นฟัง หรือเปิดเพลงให้ตัวเองฟัง สำคัญที่สุด เรามีความสุขกับสิ่งที่ทำ และไม่ให้ใครเดือดร้อน คนฟังเพลงจะมีความสุขได้ยังไง ถ้าคนเปิดเพลงไม่มีความสุข


ดนตรีดีทำให้จิตใจงาม ผู้นำเสนอที่ดีสามารถสร้างโลกที่สวยงาม
แต่ดนตรีที่เลวทราม มาจากความมักง่ายของผู้นำเสนอ



ขอบคุณที่อ่าน คับ ^^ เนื้อหาในบทความเป็นมุมมองและประสบการณ์จริงของผู้เขียน อนุญาติให้เอานำไปเผยแพร่ได้ ถ้าเป็นประโยชน์ เพื่อความรู้ ไม่ใช่การค้า ยังไงช่วยลงเครดิตคนเขียนหน่อยนะคับ


~Akara~

http://proudgroove.blogspot.com/

24.7.52

Proud Groove Academy

Real Knowledge, Real Creation, Real Sensation











ปล บล๊อกนี้ยังอยู่ในระหว่างการ update นะคับ เข้ามาดูเรื่อยๆล่ะกัน